กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร หมู่ที่ 1,2,3,7,8และ9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร หมู่ที่ 1,2,3,7,8และ9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 21 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 58,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ นิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวิตรี
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
2 0.00
3 0.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (58,975.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มากในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่าและรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่่งถูกต้องและทันเวลาและต่อเนื่องสม่ำเสมอภาวะเสี่ยงต่างๆอาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครรภ์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ รวมไปถึงสามีและญาติผู้อยู่ใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเข้าใจและเห็นความสำคัญของการคลอดในสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีความพร้อมทั้งทางด้านเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จะสามารถลดอัตราเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ช่วยลดปัญหามารดาตายคลอด รวมถึงการติดเชื้อหลังคลอดที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตของมารดาและทารก จะเห็นได้ว่าหญิงตั้งครรภ์จะสามารถดูแลครรภ์และคลอดได้อย่างปลอดภัยมีบุตรที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบกับปัจจัยหลายๆด้าน จากสถานการณ์หญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด ของหมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล พบว่าร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ของปี 2559, 2560, และ 2561 คิดเป็นร้อยละ 77.78 , 77.19 และ 72.50 ตามลำดับ, ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพของปี 2559,2560,2561 คิดเป็นร้อยละ 44.44,56.14 และ 50 ตามลำดับ ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่คนเดียวของปี 2559, 2560, และ 2561 คิดเป็นร้อยละ 1.59,20.24, และ5.88 ตามลำดับ พบว่ายังมรปัญหาอีกหลายอย่าง ที่หญิงตั้งครรภ์ยังไม่ทราบหรือไม่เห็นความสำคัญ เช่น ความสำคัญของการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ล่าช้าและผลเลือดที่เจาะคัดกรองมีผลปกติในบางตัว เช่น การติดเชื้อ HIV ภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ตลอดจนภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นคณะคลอด และหลังคลอด เช่น ภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ภาวะเด็กดิ้นผิดปกติ ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ภาวะคลอดยาก และภาวะตกเลือดหลังคลอด การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ความสำคัญของการตรวจหลังคลอดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก และความมสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การไม่มาฝากครรภ์ตามนัดหมายจึงส่งผลให้ไม่สามารถดูแลครรภ์ได้ตามเกณฑ์คุณภาพของการฝากครรภ์ปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขจะส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด รวมไปถึงพัฒนาการของเด็กหลังคลอดและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นการที่จะทำให้ชุมชน บุคคลใกล้ชิดและหญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลครรภ์ให้มีคุณภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนที่เกี่ยวข้องที่จะต้องรับรู้เกี่ยวกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองและบุตรเมื่อคลอดอย่างถูกวิธี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กรอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญโดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยได้กำหนดให้ การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันในคนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงพอแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย จังหวัดสตูลในปี 2561 มีจำนวนการคลอดในหญิงอายุ 10-14 ปี จำนวน 10 คน จำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี จำนวน 575 คน หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล มีจำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15-19 ปี ในปี 2559-2561 จำนวน 7,12 และ 6 คน ซึ่งมีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรสโดยส่วนหนึ่งเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย การขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จังอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา ซึ่งมีผล ต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาเด็กและเยาวชนตำบลนิคมพัฒนาตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและกแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และป้องกันกการท้องกก่อนวัยอันควร หมู่ที่ 1,2,3,7,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จัหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2562 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และเพื่อให้กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง 2.เพื่อให้กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

310.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 370 58,975.00 4 58,975.00
16 ก.ย. 62 3. อบรมเชิงปฏิบัติการในเด็กนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนอนุบาลมะนัง 90 17,400.00 17,400.00
18 ก.ย. 62 4.อบรมเชิงปฏิบัติการในเด็กนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 6 160 28,600.00 28,600.00
25 ก.ย. 62 1.กิจกรรมรณรงค์ในชุมชน 60 375.00 375.00
25 ก.ย. 62 2.อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลตนเองในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรสหรือบุคคลในครอบครัว 60 12,600.00 12,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง 2.กลุ่มวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาและป้องกันการท้องก่อนวัยอันควรและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2562 10:26 น.