กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ บริการทางการแพทย์ตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชนผู้สูงอายุ ในกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU พาณิชย์, กุโบร์, ชลาทัศน์, ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง) เขตเทศบาลนครสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ บริการทางการแพทย์ตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชนผู้สูงอายุ ในกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCU พาณิชย์, กุโบร์, ชลาทัศน์, ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง) เขตเทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ 60-L7250-01-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ (PCU พาณิชย์, กุโบร์, ชลาทัศน์, ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง) เขตเทศบาลนครสงขลา
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 667,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอภิชญาชุมเปีย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบสุขภาพ มีประโยชน์ในการสร้างเสริม สุขภาพและการป้องกันโรค แต่ยังพบว่าประชาชนบางส่วนยังไม่ได้รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็น เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจหรือเข้าไม่ถึงบริการ ยังพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็วในช่วง 3 - 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยตั้งแต่ประมาณปี 2543 - 2544 คือ มีประชากรอายุ 60 ปีคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ10 และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี 2558 -2573 ภาพรวมประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์“สังคมสูงวัย” (aged society) และในอีก 10 ปี ข้างหน้า จะเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (completed aged society) ปี พ.ศ. 2558 จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 10,351,200, ปี พ.ศ. 2563 จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 15,125,900, ปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 17,581,000 คน (ที่มา : ข้อมูลประชากรผู้ที่มีสัญชาติไทยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจากทะเบียนราษฎร์ของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ประมวลผลโดย : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส านักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) จากการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย และความต้องการของผู้สูงอายุทั้งด้านปัญหาสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจะมีจำนวนเกินกว่ากำลังการให้บริการทางสุขภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ยากจนทั้งในเขตชนบทและเขตเมือง ดังนั้นการปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้วยความเป็นธรรมทางสุขภาพ และความครอบคลุมทางสังคม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้เกิดความตระหนักในเฝ้าระวังการเกิดโรค และดูแลสุขภาวะที่ดีให้เกิดกับตนเอง และยังพบว่าด้วยบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะช่วยเพิ่มกำลังและรองรับการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีที่สุด จากข้อมูลรายงานจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตเทศบาลนครสงขลา ทั้งหมด 5,255.คน นำร่องโดยกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCC1) ประกอบด้วย pcu ชลาทัศน์, pcu กุโบร์รวมใจ, pcu พาณิชย์สร้างสุข และ, ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง มีผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีมีจำนวน 338คน ยังพบว่ามีผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นเหมาะสมอีกจำนวน 4,917 คน จากข้อมูลดังกล่าว กลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (PCC1) ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุเพื่อได้รับบริการการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมอย่างครอบคลุมทั่วถึงจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการสาธารณสุขในการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม

3.1 ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

2 2. เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุ และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง

3.2 ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาด้านสุขภาพได้รับการตรวจรักษาและส่งต่ออย่างเหมาะสม

3 3. เพื่อให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐาน

3.3 ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ80

4 4. เพื่อให้กลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิได้จัดบริการทางด้านสุขภาพต่างๆ ให้กับผู้สูงอายุในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาการตรวจสุขภาพฯ (โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน)
  2. ประชุมคณะทำงานกำหนดขอบเขตและรูปแบบกิจกรรม
  3. เขียนโครงการ และนำเสนอผู้บริหารพิจารณาเห็นชอบ
  4. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลผู้สูงอายุที่ไม่เข้าถึงบริการ
  5. สำรวจและค้นหาผู้สูงอายุในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่และอสม.
  6. ออกให้บริการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมในกลุ่มวัยผู้สูงอายุ ตามรายละเอียด

- การซักประวัติ เพื่อค้นหาความผิดปรกติและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ - การใช้แบบประเมินสุขภาพ ภาวะโภชนาการ(MNA), ความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด(Thai CV risk score), ความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน (OSTA index), สมรรถภาพสมอง(Modified IQCODE), ภาวะซึมเศร้า(2Q), การทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน Barthel ADL, ประเมินการใช้สารเสพติด - การตรวจร่างกายตามระบบโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว - การตรวจตาโดยทีมจักษุในความดูแลของจักษุแพทย์ - การตรวจเต้านมโดยแพทย์/บุคลากรสาธารณสุข - การตรวจคัดกรองการได้ยินและการมองเห็น - การตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาทิเช่น การตรวจเลือด (CBC, FPG, Total cholesterol & HDL, Cr), การตรวจปัสสาวะ,
- การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี Pap smear, มะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ FOBT 7. บันทึกผลการตรวจและวิเคราะห์ลงฐานข้อมูลเฉพาะราย 8. รายงานความก้าวหน้า ติดตามประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มวัยผู้สูงอายุได้รับการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรค วินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรกเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพที่อาจเกิดขึ้น
  2. ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
  3. ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงบริการใกล้บ้านและมีสุขภาวะที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2560 09:35 น.