กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กแบบเชิงรุก
รหัสโครงการ 60-L7258-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2560
งบประมาณ 3,619,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กคือทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติที่ควรได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ระยะหลังคลอดและระยะเด็กปฐมวัยเพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างมีคุณภาพแต่ในปัจจุบันแม่และเด็กหาดใหญ่ยังประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพในหลายประเด็นได้แก่ปัญหาการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์และการคลอดปัญหาพัฒนาการ และความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) ของเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มลดลง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของแม่และเด็กได้แก่ภาวะทุพโภชนาการ เช่นการขาดธาตุไอโอดีนภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่ในเกณฑ์ต่ำปัจจัยด้านอื่น ๆเช่นตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภาวะโรคต่าง ๆ และการอบรมเลี้ยงดูเด็กเทศบาลหาดใหญ่ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็กในแต่ละปีมีผู้เข้าร่วมโครงการเฉลี่ยปีละ650คน คิดเป็นร้อยละ50ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2558เกิดผลสัมฤทธิ์ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องดังนี้1.อัตราฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์คิดเป็นร้อยละ 59.85 , 60.71 ,62.72 ,63.39และ 64.77ตามลำดับ (เกณฑ์ >ร้อยละ 60) 2. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์คิดเป็นร้อยละ16.57,18.49 , 16.96 ,12.25 และ14.09 ตามลำดับ (เกณฑ์ < ร้อยละ 10) 3. หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 100.04 , 13.10, 11.05 และ 10.37 ตามลำดับ (เกณฑ์ < ร้อยละ 10) 4. อัตราฝากครรภ์ ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 67.43, 82.22, 86.05, 89.67 และ 91.97 ตามลำดับ (เกณฑ์> ร้อนละ90) 5. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 6.92, 6.93 6.68, และ 6.12 ตามลำดับ(เกณฑ์ < ร้อยละ 7 ) 6. ทารกแรกเกิด 6 เดอืน กินนมแม่อย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 22.67 , 24.85 , 25.50, 22.89 และ 20.20 ตามลำดับ (เกณฑ์ > ร้อยละ 50) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเห็นว่า ตัวชี้วัดสถานะสุขภาพของแม่และเด็กดีขึ้น แต่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สำนักงานสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ เป็นหน่วยงานภาครัฐ ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตขิงประชาชน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสุขภาพของแม่เละเด็กในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อลดอัตราจากการตั้งครรภ์และการคลอด แม่และเด็กมีสุขภาพแข็งแรง มมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม โดยรับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ครบวงจรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศไทยในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กเชิงรุก ปี พ.ศ. 2560 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัย โดยให้การดูแลแบบ บูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
  1. ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ60
  2. ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า2,500กรัมไม่เกินร้อยละ7
2 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และ สามารถดูแลตนเอง และเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
  1. ร้อยละของเด็กแรกเกิด – ต่ำกว่า 6 เดือนกินนมแม่อย่างเดียวไม่น้อยกว่าร้อยละ50
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปทราบ 3.ดำเนินงานตามโครงการแบ่งตามกิจกรรมต่าง ๆดังนี้ 1.กิจกรรมรับนม-ไข่เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมสร้างแรงจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็ว และเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ครบวงจร 2.กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพ (โรงเรียนพ่อแม่) 3.กิจกรรมประชาสัมพันธ์และสร้างกระแสการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก
4.จัดประชุมวิชาการสุขภาพแม่และเด็ก เพื่ออบรมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพโดยเชิญ วิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กจากสหวิชาชีพมาให้ความรู้และเชิญหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดบูธนิทรรศการสุขภาพแม่และเด็ก 5.จัดอบรมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก(อสม. จำนวน200คน) เพื่อให้ แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่และแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัยมีสุขภาพดีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
  2. หญิงตั้งครรภ์มารดา/ทารกหลังคลอด และเด็กปฐมวัยได้รับการติดตามดูแลโดยเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขและ อสม.
  3. หญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอด และครอบครัว มีความรู้ และตระหนักในการดูแลตนเอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2559 09:53 น.