กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกรักสุขภาพดี ชีวีสดใส(smart kid)ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 001/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ศาลาหยุดพระ หมู่ที่ 7ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 สิงหาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 27 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 38,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารณี จันทร์อ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการสปสช.
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 4 , 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ส.ค. 2560 29 ก.ย. 2560 38,125.00
รวมงบประมาณ 38,125.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 195 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป และนโยบายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีเน้นเรื่องของ Smart Kid เน้นในเด็ก ๐ –๕ ปี เรื่องของภาวะโภชนาการ พัฒนาการสมวัย การฉีดวัคซีน และฟันดี ไม่มีฟันผุ ส่วนใหญ่ที่เป็นปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก ๐ –๕ ปี ปี พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๐พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ ๕.๘๔ , ๕.๒๙และ ๔.๙๒ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ ๑๐ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ ๐ –๕ปี ไม่เกินร้อยละ ๗ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และจะเชื่อมต่อไปกับการได้รับวัคซีนและการมีสุขภาพฟันที่ดี และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางรพ.สต.บ้านศาลาหยุดพระ จึงได้จัดทำโครงการลูกรักสุขภาพดี ชีวีสดใส(smart Kid)ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการวัคซีน พัฒนาการการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในเด็ก 0-5 ปี 2.เพื่อแให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 3.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย 4.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 5.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีปราศจากฟันผุ

1.เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการวัคซีน พัฒนาการการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในเด็ก 0-5 ปี 2.เพื่อแให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 3.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย 4.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 5.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีปราศจากฟันผุ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 เม.ย. 60 จัดอบรมผู้ปกครองและ อสม. ในเขตพื้นที่รพ.สต.บ้านศาลาหยุดพระจำนวน195 คนเรื่องโภชนาการวัคซีนพัฒนาการ และฟัน 195 38,125.00 38,125.00
รวม 195 38,125.00 1 38,125.00

1.ประชุมชี้แจงคณะทำงาน 2.จัดทำทะเบียนน้ำหนักเด็กอายุ 0-5 ปี ในพื้นที่รับผิดชอบ จำแนกตามรายหมู่บ้าน 3.ประสานงานกับ อสม. จำนวน 3 หมู่บ้าน เพื่อทราบจำนวนกลุ่มเป้าหมาย 4.ดำเนินการตามโครงการ 4.1 จัดอบรมผู้ปกครองและ อสม. ในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านศาลาหยุดพระจำนวน 174 คน เรื่องโภชนาการวัคซีนพัฒนาการ และฟัน 4.2 ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีกรมอนามัย 4.3 ติดตามเยี่ยมในรายที่มีปัญหาทุพโภชนาการพร้อมให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ 4.4 ติดตามเด็กกลุ่มเป้าหมายมาตรวจพัฒนาการ และตรวจฟันโดย อสม. ทุก 2 เดือน โดยให้ อสม. ติดตามแต่ละ ละแวกของตนเองมาตรวจพัฒนาการและตรวจฟันและเพื่อดำเนินการติดตามให้มาฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ที่ รพ.สต. 5 ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 6. รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการวัคซีน พัฒนาการ การแปรงฟันที่ถูกวิธี ในเด็ก 0-5 ปี 2.เด็ก อายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 3.เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย 4.เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 5.เด็ก 0-5 ปี ปราศจากฟันผุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2560 10:37 น.