กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 2562-L3306-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ
วันที่อนุมัติ 11 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2562 - 31 ธันวาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งโรคไม่ติดต่อเหล่านี้ส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรมด้านการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกาย รวมทั้งการที่ต้องเผชิญกับความเครียดจากปัญหาการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการดูแลรักษาหรืออาจจะตลอดชีวิตและมีภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่ตามมาหลายอย่าง เช่น อัมอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ ไตวาย เป็นต้น ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกไม่ได้ ดังนั้น การดำเนินการเพื่อยับยั้งหรือขจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่อาจจะนำไปสู่การเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ ซึ่งสามารถลดอัตราป่วยลงได้อย่างมีนัยสำคัญ       การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ร่วมกับมีพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆที่จำเป็น เช่น การงดสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนและการผ่อนคลายความเครียด เหล่านี้เป็นต้น การส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ถือเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมและป้องกันการเกิดโรค โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่จะต้องได้รับการดูแลเพื่อป้องกันและลดอัตราการป่วยด้วยโรคเหล่านี้ลงให้ได้ เนื่องจากประชาชนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะพัฒนาไปเป็นผู้ป่วยในอนาคตค่อนข้างสูง ถ้าหากว่าไม่ได้รับการดูแลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านต่างๆอย่างถูกต้องเหมาะสม การดำเนินการป้องกันการเกิดโรคโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกายและการมีสุขภาพจิตที่ดีนั้น สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆลงได้ ในปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิต(Lifestyle intervention or Lifestyle modification ) สามารถชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในอนาคตได้ โดยการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที่ขึ้นไป และการควบคุมอาหาร จนทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้โดยประมาณร้อยละ ๖ ขึ้นไป สามารถลดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง(Incident case ) ได้ถึงร้อยละ ๔๐ – ๖๐ (คุณภาพระดับ ๑, น้ำหนักคำแนะนำ ++) นอกจากนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังช่วยลดภาระงานในการดูแลผู้ป่วยของบุคลากรทางสุขภาพและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณของหน่วยงานด้านสาธารณสุขอีกด้วย       จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ ในปีงบประมาณ ๒๕62 นั้น พบว่ามีประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๑๙ และกลุ่มที่สงสัยเป็นโรคคิดเป็นร้อยละ ๔.๗๖ ของผู้ที่มารับการตรวจคัดกรองทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะจังกระ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆลงได้ตามเป้าหมาย(ไม่เกินร้อยละ ๕ ของกลุ่มเสี่ยง)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

0.00
2 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคไม่ติดต่ออื่นๆ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ ๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 130 23,450.00 2 23,450.00 0.00
20 ก.ย. 62 - 11 ธ.ค. 62 จัดประชุมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 130 20,200.00 20,200.00 0.00
18 พ.ย. 62 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง โดยประเมินดรรชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดัน เจาะน้ำตาลในเลือด 0 3,250.00 3,250.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 130 23,450.00 2 23,450.00 0.00

กิจกรรมที่1 1.1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและรับสมัครกลุ่มผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่ 2 2.2. จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยยึดหลัก 3 อ. 2 ส. ได้แก่ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา 2.3 นำกลุ่มเป้าหมายทดสอบความรู้ก่อนการอบรม 2.4.อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยแบ่งเนื้อหา 2 หลักสูตร หลักสูตรแรกสำหรับกลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลักสูตรที่สองสำหรับกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.5.นำกลุ่มเป้าหมายทดสอบความรู้หลังการอบรม 2.6 เชิญชวนผู้ตรวจสุขภาพที่มีน้ำหนักและรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐานให้เข้าคลินิก “หุ่นสวย ”     2.7. จัดทำทะเบียนติดตาม 2.8 นำกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเข้าอบรมในคลินิกไร้พุง กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยง โดย อสม.อย่างต่อเนื่องทุกเดือน
2.1 ติดตามผลการอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.2 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง โดยประเมินดรรชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดัน เจาะน้ำตาลในเลือด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม สามารถดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆได้
๒. ชุมชนมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สร้างและสนับสนุนสภาพแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการมีสุภาวะที่ดี ๓. หน่วยบริการสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สุขภาพทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆ ๔. ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึงและได้มาตรฐาน ครอบคลุมทุกมิติอย่างผสมผสานทั้งการดูแลส่งเสริมป้องกันโรคในระดับชุมชนและการให้บริการในสถานบริการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2562 11:51 น.