กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากหมอกควันไฟอินโดนีเซีย
รหัสโครงการ 62-L8413-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบาลอ
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 11,135.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดียานา ประจงไสย
พี่เลี้ยงโครงการ นายรูสลาม สาร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.448,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ย. 2562 20 ก.ย. 2562 11,135.00
รวมงบประมาณ 11,135.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6511 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์หมอกควันจากไฟไหม้ป่าบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงใต้ บางส่วนบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย พัดเข้าสู่พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย เป็นผลให้เกิดหมอกควันข้ามแดน ปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และสตูล ซึ่งเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 เวลา 06.00 น. ค่า PM2.5 ในเขตเทศบาลนครยะลา วัดได้เท่ากับ 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (สูงกว่า 50 ขึ้นไป) ซึ่งอาจเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวให้ประชาชนในพื้นที่ติดตามรับฟังข่าวสาร และข้อมูลจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง รวมถึงมีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะประชาชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการกำเริบได้ง่ายจากการสูดดมฝุ่นละอองขนาดเล็ก จึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในปริมาณที่สูงเกินค่ามาตรฐาน หรือเข้าไปทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายมากเป็นระยะเวลานาน แต่หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กในปริมาณที่สูง ควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด โดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นเวลานาน และตำรวจจราจรที่ทำงานกลางแจ้ง ควรสวมหน้ากาก สวมแว่นตา เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันฝุ่นด้วย นอกจากนี้ หากประชาชนมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยเร็ว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้สถานการณ์ เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

ร้อยละ80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีการรับรู้และเข้าใจทักษะการปฏิบัติตัว

0.00
2 เพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ จากการที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล้กในปริมาณที่สูงเกินค่ามาตรฐาน

จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจลดน้อยลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ 0 0.00 0.00
20 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมสนับสนุนและสาธิตวิธีการใช้ 0 11,135.00 11,135.00
รวม 0 11,135.00 2 11,135.00
  1. เสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะทำงาน
  3. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน หน่วยงานเพื่อมอบหมายงานที่รับผิดชอบ
  4. ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย
  5. ดำเนินการจัดโครงการ 5.1 สนับสนุนหน้ากากอนามัยให้กับกลุ่มเสี่ยง พร้อมทั้งสาธิตวิธีการใช้
    5.2อบรมให้ความรู้ในเรื่องการปฏิบัติตนและเรื่องหมอกควัน 6.สรุปและประเมินผลกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายรับรู้และเข้าใจสถานการณ์ เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง 2.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2562 07:59 น.