กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ (กรณีสถานการณ์ไฟป่า)ประเทศอินโดนีเซีย ประจำปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3018-5-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลรูสะมิแล
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 กันยายน 2562 - 25 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรูสะมิแล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20560 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล     คำว่า PM ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ PM 10 และ PM 2.5 ส่วนตัวเลข 2.5 นั้นมากจากหน่วย 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตร ฝุ่น PM 2.5 เป็นอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ไม่โครเมตร แขวนลอยอยู่ในอากาศรวมกับไอน้ำ ควัน และก๊าชต่างๆ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าถึงจะเป็นเพียงฝุ่นละออกขนาดจิ๋ว แต่เมื่อมาแผ่อยู่รวมกันจะกินพืนที่ในอากาศมหาศาล ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศบปริมาณสูง เกิดเป็นหมอกควันอย่างที่เราเห็นกัน ฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากเส้นผมที่ว่ามีขนาดเล็กแล้ว เจ้าฝุ่น PM 2.5 ยังเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า ทำให้เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอดและหลอดเลือดได้ง่าย ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว     สถานการณ์หมอกควันจากไฟไหม้ป่าจากประเทศอินโดนีเซีย ที่กระแสลมพัดเข้ามาดังกล่าวถือว่าอยู่ในภาวะวิกฤตและหนักที่สดุในรอบปีนี้ โดยพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่างที่ได้รับผลกระทบ คือจังหวัด สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา สภาพอากาศปิดเต็มไปด้วยหมอกควันหนาทึบทั่วท้องฟ้าและมองเห็นหมอกควันได้รอบตัวอย่างชัดเจน ประชาชนหลายคนแสบตาและหายใจลำบาก ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง โดยปกคลุมทั้งพื้นที่ในตัวเมืองและในทะเลโดยข้อมูลจากกรมอนามัย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562 ตำบลรูสะมิแล สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับ 31 ซึ่งอยู่ในระดับดี และวันที่ 20 กันยายน 2562 PM 2.5 อยู่ในระดับ 39 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มีคำแนะนำการปฏิบัติตนในระดับปานกลาง โดยให้ประชาชนเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้ง ลดการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายกลางแจ้งหากต้องออกนอกอาคารให้สวมหน้าการอนามัย หรือ N 95 เฝ้าระวังอาการ หมากมีอาการผิดปกติให้รับพบแพทย์ทันที     ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และอ้างถึงหนังสือโทรสารในราชการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสารณภัยจังหวัดปัตตานี ความเร่งด่วน ด่วยที่สุด ที่ ปน 0021/ว784 ลงวันที่ 19 กันยายน 2562 ประกองกับนายกเทศมนตรีตำบลรูสะมิแล เห็ฯว่าสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในตำบลรูสะมิแลเป็นอย่างมาก จึงสั่งการใก้กองสาธารณสุขดำเนินการจัดซื้อหน้าการอนามัยเป็นการเร่งด่วน เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในตำบลรูสะมิแล ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลรูสะมิแล จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติฉุกเฉินในพื้นที่ (กรณีสถานการณ์ควันจากไฟป่า ประเทศอินโดนีเซ๊ย) ปี 2562 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรงทางเดินหายใจจากสถานการณ์ หมอกควันไฟจากประเทศอินโดนีเซีย ค่า PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

0.00
2 2.เพื่อควบคุมการระบาดของโรคที่มาจากหมอกควันไฟจากประเทศอินโดนีเซีย ค่า PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอัตรายต่อสุขภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนการเตรียมการ     1.ตรวจสอบและเฝ้าระวังสถานการณ์ๆฟป่าจากประเทศอินโนนีเซีย และค่า PM 2.5 ที่ เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี     2.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ     3.ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์     4.ประชาสัมพันธ์โครงการแจ้งให้ประชาชนทราบ ขั้นตอนการดำเนินการ     1.แจกหน้ากากอนามัยให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อควบคุมโรคระบาดที่มาจากฝุ่นละออง PM 2.5     2.เฝ้าระวังการระบาดของโรค     3.ประชาสัมพันธ์และแจ้างข่าวสารสถานการณ์โรคและวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องให้ประชาชนทราบ ขั้นตอนการประเมินและสรุปผล     1.สรุปและประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถป้องกันและลดอัตาเสี่ยงในการเกิดโรคทางเดินหายในจากสถานการณ์ หมอกควันไฟจากประเทศอินโดนีเซีย ค่า PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขี้น และเป็นอัตรายต่อสุขภาพ     2.สามารถควบคุมการระบาดของโรคที่มาจากหมอกควันไฟจากประเทศอินโดนีเซียค่า PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2562 16:16 น.