กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลทับช้าง
วันที่อนุมัติ 10 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางน้อย อินทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอะหมัด หลีขาหรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับช้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.586,100.695place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลสำนักงานเศณษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ปี พ.ศ.2554 ประเทศไทยมีปริมาณนำเข้าสารกำจัดแมลงเท่ากับ 34,672,000 กิโลกรัม ปริมาณนำเข้าสารกำจัดวัชพืชเท่ากับ 112,176,000 กิโลกรัม ปริมาณนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดเท่ากับ 164,383,000 กิโลกรัม จากการคำนวณค่าเฉลียพบว่าคนไทย 64.1 ล้านคน มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 2.6 กิโลกรัมต่อคนต่อปี การใช้สารเคมีในการเกษตร เริ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเกษตรจากการที่พึ่งพาตนเองและธรรมชาติ การผลิตเพื่อบริโภค เป็นการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการค้า การผลิตที่เน้นปริมาณแต่ขาดการคำนึงถึงคุณภาพและมีความเสี่ยงปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ เช่น สารปรุงแต่ง สารกันเสีย สารฟอกขาว ยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น การเปลี่นแปลงดังกล่าวเริ่มต้นและขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อประเทศเดินหน้าเข้าสู่การปฏิวัติเขียว ประมาณ 2504 ด้วยบางนโยบาลของรัฐและการผลักดันของกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่
  ปัจจุบันการบริโภคสินค้าเกษตรที่มีสารเคมี จึงสร้างปัญหาสุขภาพทั้งโรคเฉียบพลัน เช่น อาหารคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่ามัว และโรคเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์อัมพาต โรคผิวหนัง การพิการของเด็กแรกเกิดและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น สถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่บันทึกไว้ในสถิติเป็นเพียงตัวเลขขั้นตำของจำนวนผู้ป่วยจริงในแต่ละปี การเก็บเก็บข้อมูลส่วนใหญ่มาจากระบบฐานข้อมูลการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และเเพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเพราะสารเคมีอาจไม่ชัดเจนบางกรณี โดยเฉพาะในโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าจำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงอาจอยู่ที่ 200,000 - 400,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าและสารเคมีในประเทศ การสันบสนุนให้ประชาชนหันมาใส่ใจในปัญหาสุขภาพที่เกิดจาการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อประชาชนได้บริโภคผักผลไม้และผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษก็ทำให้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนลดน้อยลง ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพต่างๆ ลดน้อยลงคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น จึงถือเป็นการแก้ปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างการเรียนรู้ด้านการทำเกาตรอินทรีโดยไม่พึ่งพาสารเคมี

ประชาชนมีความรู้ความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตรอินทรีโดยไม่พึ่งพาสารเคมี

0.00
2 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการเกษตรเพื่อสุขภาพของชุมชน เกิดกิจกรรมและเป็นต้นแบบในด้านการเกษตรเพื่อสุขภาพอย่างยังยืน

มีศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรเพื่อสุขภาพของชุมชนเกิดบุคคลต้นแบบด้านการเกษตร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 ต.ค. 62 ฐานกิจกรรมเลี้ยงสัตว์อินทรี 50 17,150.00 17,150.00
2 ก.พ. 64 ฐานกิจกรรมปุ๋ยและการปลูกพืชอินทรี 0 10,870.00 10,870.00
รวม 50 28,020.00 2 28,020.00

1.ประชุมกำหนดหัวข้อปัญหาและกิจกรรม 2.เขียนโครงการ 3.ประสานงานวิทยากรและประชาสัมพันธ์โ๕รงการแก่ประชาชนในพื้นที่โดยการใช้ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ โดยหอกระจายข่าวและเสียงตามสาย 4.จัดเตรียมสถานที่และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ 5.จัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชชนในตำบลทับช้างมีความรู้ความเข้าใจด้านการทำเกษตรอินทรีโดยไม่พึ่งพาสารเคมี 2.มีแหล่งเรียนรู้ในด้านการเกษตรเพื่อสุขภาพของชุมชน เกิดต้นแบบในด้านการเกษตรเพื่อสุขภาพอย่างยั่งยืน 3.ประชาชนได้บริโภคอาหารและผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยและลงสารปนเปื้อนลดปัญหาสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนจากการบริโภคอาหารและผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2562 14:51 น.