กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด หมู่ที่ 3
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3
พี่เลี้ยงโครงการ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.83,100.313place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง  ได้แก่การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดรวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้นนอกจากนี้ยังพบว่าประชากรไทยส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง  เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ วันๆละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักสดและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ๕ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม)และลดอาหารไขมัน  จากการ ดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มอายุ ๓๕ปีขึ้นไป ปี ๒๕๖๐หมู่ที่ ๓ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่3 จำนวน ๓๙๕ คน พบกลุ่มที่มีระดับเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจหลอดเลือด) จำนวน ๒๐ คนเสี่ยงเบาหวาน จำนวน ๓๒ คน พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิตสงสัยเป็นโรค จำนวน๑๒ คน สงสัยป่วยเป็นเบาหวาน ๔คน จึงจัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็งความดันโลหิต โรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นโดยดำเนินการในหมู่ที่ ๓ ตำบลคลองหอยโข่ง โดยมุ่งเน้นส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้าน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ -๕ วันวันละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับกินผักอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัม และลดอาหารไขมัน ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต และส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 .เพื่อให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารไขมัน 2.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด วันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารไขมัน 3.ให้ประชาชนมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารไขมัน 4. เพื่อสร้างกระแสการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในชุมชน

1.ประเมินผลดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ โดยแบบประเมินหมู่บ้านต้นแบบ        


          2.ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯจากแบบสรุปผลการดำเนินงาน    


          3.ประเมินความรู้และพฤติกรรมการออกกำลังกายและรับประทานผักและผลไม้ของประชาชนโดยการสุ่มสำรวจ

        4.ประเมินความพึงพอใจของเครือข่ายและประชาชนต่อกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคฯ โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
    2. ประสานงานภาคีเครือข่ายและคณะทำงาน
    3. ประชาสัมพันธ์โครงการ     4. ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและรวบรวมผลการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ     5. จัดทำเวทีประชาคม แต่งตั้งคณะทำงานระดับหมู่บ้านขับเคลื่อนการดำเนินงาน ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของหมู่บ้าน
    6. สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพเบื้องต้น     7. จัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างปัจจัยเอื้อต่อการลดโรคและควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ     8. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ด้านการออกกำลังกายและด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ
    9. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย     10. สรุปรายงานผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่เหมาะสมอย่างน้อย3 พฤติกรรม คือ กินผัก ผลไม้สด ปลอดสารพิษทุกวันอย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัมต่อวันต่อคน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายตามวัยที่เหมาะสมอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  2. เกิดหมู่บ้านต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2562 15:18 น.