กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจิตอาสาดูแลคนพิการและทุพลภาพในชุมชน ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2988-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากู
วันที่อนุมัติ 5 สิงหาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กันยายน 2562 -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปากู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากู อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.624,101.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจจำนวนคนพิการในปี พ.ศ. 2550 พบว่าประเทศไทย มีประชากรที่มีความพิการจำนวน 1.9 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากร ทั้งประเทศ และสำหรับจังหวัดนครราชสีมา มีผู้พิการทุกประเภทรวมกันทั้งหมด ในปี 2560 จำนวน 72,745 คน (กุมภาพันธ์ 2560, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ในจำนวนนี้จัดเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมากที่สุดรองลงมาคือทางการได้ยินและการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีผู้พิการอีกหลายประเภทที่อยู่ในชุมชนที่บางส่วนยังเข้าไม่ถึงระบบการดูแลที่เหมาะสม ทั้งผู้พิการทางสติปัญหา การเรียนรู้ ออทิสทิก หรือทางด้านจิตเวช ผู้พิการบางประเภทสามารถออกจากบ้านเพื่อการไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ และสามารถที่จะดำรงชีวิตด้วยตนเองได้บ้าง ตามศักยภาพที่สามารถทำได้ ในขณะที่อีกหลายประเภท หลายคนที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และยังคงเป็นภาระให้กับผู้ดูแลหรือสมาชิกในครัวเรือนด้วย และนอกจากนี้ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของความไม่เข้าใจ หรือทัศนคติที่เป็นด้านลบ ที่คนทั่วไป หรือญาติของคนพิการเอง ที่มองคนพิการว่า ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่สามารถประกอบอาชีพ หรือทำกิจวัตรต่างๆ ด้วยตนเองได้ หากได้รับการดูแลหรือแนะนำที่เหมาะสม และยังมองว่า คนพิการก็ยังคงเป็นภาระของครอบครัวหรือผู้ดูแลอยู่ ซึ่งการมองคนพิการด้วยทัศนคติแบบนั้นอาจส่งผลกระทบต่อคนพิการในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านจิตใจ ที่อาจทำให้ผู้พิการเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระสังคมมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นเพื่อลดปัญหาเรื่องความคิดทัศนคติ ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการ ลดปัญหาเรื่องคนพิการที่ไม่มีคนดูแล โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพจิตของคนพิการ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อให้จิตอาสา ที่ได้รับการพัฒนาความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดูแลคนพิการ ให้มีบุคลากรที่จะสามารถลงไปเยี่ยมคนพิการในครัวเรือน เพื่อแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง ทั้งในเรื่องอาหาร การประกอบกิจวัตรต่างๆ การดูแลตนเองโดนเฉพาะเรื่องการป้องกันโรค ตลอดจนการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดขึ้นกับทั้งคนพิการและคนดูแล เพื่อชี้ให้เห็นว่าคนพิการก็สามารถพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองได้ สามารถลดการพึ่งพิงจากคนรอบข้างได้ ถ้าได้รับการดูแลและพัฒนาทักษะที่เหมาะสมและจะสามารถช่วยลดปัญหาของครอบครัวที่ต้องดูแลลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ดูแลคนพิการได้รับความรู้ ความเข้าใจมีทัศนคติที่ดีในการดูแลคนพิการที่เจ็บป่วยในครอบครัวและชุมชน 2. เพื่อให้คนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และขาดการดูแล มีผู้ให้การดูแล 3. เพื่อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลคนพิการได้รับความรู้ ความเข้าใจและมีทัศนะที่ดีในการดูแลคนพิการที่เจ็บป่วยในครอบครัวและชุมชน ร้อยละ 80 คนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และขาดการดูแล มีผู้ให้การดูแลสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.ร่วมกันประชุม วางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงาน โครงการ 2.แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลคนพิการและทุพลภาพที่บ้าน โดยมีวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ
          - การทำแผล, การดูดเสมหะ, การให้อาหารทางสายยาง, การพลิก ตะแคงตัวเพื่อลดการเกิดแผลกดทับ
  - การทำอาหารผสม การปรุงอาหารและการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์           - การฟื้นฟูสมรรถภาพและการเคลื่อนย้ายผู้พิการ
      2. การออกให้บริการดูแลคนพิการที่บ้าน โดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับแกนนำอาสาสมัครดูแลผู้ป่วย และจิตอาสาในชุมชน
    3. ประเมินผลการดำเนินงาน
    4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากู

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลคนพิการได้รับความรู้ ความเข้าใจและมีทัศนะที่ดีในการดูแลคนพิการที่เจ็บป่วยในครอบครัวและชุมชน
  2. คนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และขาดการดูแล มีผู้ให้การดูแลสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2562 14:47 น.