กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชน โรงเรียน ร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 60-L3336-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2557 ประเทศไทยพบผู้ป่วยทั้งหมด 40,278 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 62.33 ต่อแสนประชากร เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 41 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, มกราคม 2558) จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยทั้งหมด 772 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.20 ต่อแสนประชากร ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศ อำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยทั้งหมด 64 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 125.19 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ปี 2558 ประเทศไทยพบผู้ป่วยทั้งหมด 142,925 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 219.46 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 141 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10 (สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง, มกราคม 2559) จังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยทั้งหมด 519 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.39 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีิวิต อำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยทั้งหมด 62 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 121.78 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุดคือ 10-14 ปี มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 18 ราย อาชีพี่พบมากที่สุด คือ อาชีพนักเรียน มีจำนวนผุ้ป่วยทั้งหมด 36 ราย ตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ตำบลดอนประดู่ มีอัตราป่วย 263.77 ต่อประชากรแสนคน สำหรับปี 2559 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2559) อำเภอปากพะยูน พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5.85 ต่อประชากรแสนคน มีค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลายที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน คือ หมู่บ้านร้อยละ 46.55 โรงเรียนร้อยละ 31.57 และศาสนสถาน ร้อยละ 31.18 จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยูงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่า การแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรีย ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ขไปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจักและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในตำบลดอนประดู่ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม 1 ครั้ง 2 นักเรียน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 150 คน เข้ารับการประชุมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คนละ 1 ครั้ง
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน
  1. นักเรียน ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตตัวเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  2. นักเรียน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุข สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายไขว้เขต เดือนละ 1 ครั้ง
3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  1. นักเรียน ประชาชน และอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตตัวเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 8 สัปดาห์
  2. นักเรียน ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจแห่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายไขว้เขต เดือนละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2 เดือน
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูล
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานจัดทำและขออนุมัติโครงการ
  4. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
  5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5.1 ประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการ 5.2 จัดประชุมให้ความรู้ แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 5.3 กลุ่มเป้าหมายร่วมกันสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในเขตตนเอง 5.4 กลุ่มเป้าหมายร่วมกันสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายแบบไขว้เขต 5.5 จัดกิจกรรมสัปดาห์ควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 5.6 จัดประชุมติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มเป้าหมาย
  6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานบริการ 6.1 จัดมุมความรู้ในสถานบริการ
  7. การติดตามและสนับสนุนงาน
  8. ประเมินผลและสรุปผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน นักเรียน และอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมในการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  2. ลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชน นักเรียนและอาสาสมัครสาธารณสุขเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2560 14:41 น.