กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63 - L2479 - 1 -07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2019 - 30 กันยายน 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2020
งบประมาณ 40,125.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปารีดะ แก้วกรด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
70.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล คุณภาพชีวิตที่ดี คือเป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือ ประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน จากสภาพปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน นับว่าเป็นปรากฏการณ์ของปัญหาใหม่ที่สำคัญปัญหาหนึ่งที่ไม่สามารถจะมองข้ามได้ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพจะส่งผลกระทบต่อปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สุขภาพ เป็นต้น ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรคความดันโลหิต เบาหวาน เป็นต้น หากขาดการดูแลเอาใจใส่อาจส่งผลถึงชีวิตในที่สุดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีของบุคคล เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ ตลอดจนปัญหาอุบัติเหตุต่างๆ แม้ว่าจะเป็นอุบัติเหตุจากการทำงานอุบัติเหตุจากการจราจรบนท้องถนน โรคและอุบัติเหตุต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจากสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งประชาชนและชุมชนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องอาศัยกลยุทธ์ในการส่งเสริม ควบคุม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในชุมชน การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จำเป็นต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยภาครัฐ องค์กรชุมชน ผู้นำชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดจนประชาชนทั่วไปในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมและตระหนักในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นสำคัญ เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ก่อให้เกิดการพัฒนาจนสามารถพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืนได้ ดังนั้น งานสาธารณสุข สำนักปลัด อบต.บูกิต ร่วมกับรพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง ผู้นำหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข รวมเป็นแกนสุขภาพตำบลบูกิตได้ร่วมกันจัดโครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต เพื่อให้ความสำคัญกับการเสริมสร้าง พัฒนาและสนับสนุน กระบวนการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดำเนินงานด้านสุขภาพร่วม กับแกนนำสุขภาพ ตำบลบูกิต ให้เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสุขภาพของชุมชน ส่งผลให้การดำเนินงานตามนโยบายการสร้างสุขภาพ และการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญประสบผลสำเร็จเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

70.00 25.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

70.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 40,125.00 0 0.00
9 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 0.00 -
9 มิ.ย. 63 - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการดูแลดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานเครือข่ายสุขภาพ 50 34,625.00 -
26 มิ.ย. 63 ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลการสร้างเครือข่ายสุขภาพ 50 5,500.00 -

1.สำรวจเครือข่ายสุขภาพในตำบล

2.ประสานงานกับหน่วยบริการในพื้นที่ (รพ.สต. และเครือข่ายสุขภาพ)

3.จัดทำทะเบียนเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่

  1. ตั้งคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต

  2. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อมอบหมายงานและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานทั้งหมด

  3. ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ (TOR) การในการทำงานร่วมกัน

  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตามแผน

6.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการดูแลดูแลสุขภาพ และการช่วยเหลือด้านต่างๆกับเครือข่ายสุขภาพในการส่งเสริม ป้องกันในการดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ

6.2 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของชุมชนมอบหมายงาน และร่วมจัดทำทะเบียนเครือข่ายสุขภาพตำบลบูกิต และ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานทั้งหมด

7.ให้แต่ละส่วน ไปดำเนินการส่งเสริมสุขภาพตามบทบาทหน้าที่ ที่ได้รับ

8.ประเมินผลการดำเนินงาน

  1. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต

  2. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 มีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในชุมชนในพื้นที่เขตอบต.บูกิต โดยองค์กรภาคประชาชนด้านสุขภาพเข้ามามีส่วนร่วม

2 องค์กรภาครัฐ ผู้นำชุมชน เครือข่ายภาคประชาชนด้านสุขภาพในระดับชุมชนอบต.บูกิต ตลอดจนประชาชนทั่วไป ในเขตอบต.บูกิต

3.มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินการในชุมชน ซึ่งจะทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีศักยภาพและเข้มแข็งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2019 00:00 น.