กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลคลองหอยโข่ง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลคลองหอยโข่ง
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลคลองหอยโข่ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.83,100.313place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 ในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (2544- 2564) และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข ครอบคลุม 4 มิติ(มิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม) รวมถึงสร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ประกอบกับ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2550 คณะรัฐมนตรี มีมติด้านการคุ้มครองสถานภาพผู้สูงอายุ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาชนในท้องถิ่น โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้สูงอายุที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนได้รับการดูแล จากการสำรวจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลคลองหอยโข่ง พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 731 คน เมื่อแบ่งตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธอเอดีแอล(Barthel ADL Index) ในผู้สูงอายุ จำนวน 731 คน พบว่าเป็นผู้สูงอายุกลุ่ม 1 พึ่งตนเองได้ (คะแนน ADL ตั้งแต่ 12 ขึ้นไป) จำนวน 695 คน  ผู้สูงอายุกลุ่ม 2 พึ่งตนเองได้ (คะแนน ADL อยู่ในช่วง 5-11) จำนวน 22 คน  ผู้สูงอายุกลุ่ม 3 พึ่งตนเองไม่ได้ (คะแนน ADL อยู่ในช่วง 0-4 ) จำนวน 14 คน ประกอบกับ ปีงบประมาณนี้ตำบลคลองหอยโข่งได้รับการคัดเลือกเป็นตำบลการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ( Long term care)เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คือ Care giver(ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) 1คนดูแลผู้สูงอายุจำนวน5 คน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลคลองหอยโข่ง จึงมีความจำเป็นต้องจัดอบรม Care giver เพื่อให้มีความครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง ร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care giver)มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ข้อ 4 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ให้เหมาะสมตามบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายในชุมชน 70 ชั่วโมง ร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ ( Care giver )ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร 70 ชั่วโมง ที่สามารถให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้านได้ -ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care giver)มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุ
-ให้ผู้สูงอายุ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น -พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ให้เหมาะสมตามบริบท ภายใต้การมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายในชุมชน70 ชั่วโมง ร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1  ขั้นเตรียมการ
      1.1 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( รพ.สต.ทุ่งเลียบ , ศูนย์สุขภาพชุมชนรพ.คลองหอยโข่ง       1.2 ชี้แจงการดำเนินงาน โครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       1.3 เตรียมหลักสูตรในการอบรม Care giver
      1.4 รับสมัครและคัดเลือก Care giverเพื่อเข้าร่วมอบรมตามหลักสูตร ๗๐ ชม. (กรม อนามัย)
    กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ
      2.1 จัดอบรม Care giver ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติหลักสูตร ๗๐ ชม. (กรมอนามัย) จำนวน ๑๐ คน       2.2 Care giver ลงพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน,ติดเตียง ที่ได้รับมอบหมายจาก Care manager
    กิจกรรมที่ 3         การติดตามและสรุปผลโครงการ นิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงานของนักบริบาลชุมชนติดตามผลการดำเนินงานและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2562 11:13 น.