กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พ่นหมอกควันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประจำปีงบประมาณ 2562
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 6 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 62,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยามีล๊ะ สะตี
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ สถานศึกษาตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (62,200.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกมานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันโรค ไข้เลือดออก มีการระบาดกระจายไปทั่วประเทศ ทุกจังหวัด และอําเภอการกระจายของโรคมีการเปลี่ยนแปลง ตามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและแตกต่างกันในแต่ ละพื้นที่ และยังมีส่วนทําให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี ดังนั้นแนวคิดด้านการรายงาน สถานการณ์โรค จึงเปลี่ยนไปสู่การสร้างสรรค์ความคิด โดยการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการ “ป้องกัน” และ “เตือนภัย” ในเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น นําไปสู่การทํานาย (Forecast) หรือพยากรณ์ (Prediction) เพื่อคาดการณ์สถานการณ์โรคล่วงหน้า รวมทั้งการประเมินความ เสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Assessment) รายพื้นที่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถ ตัดสินใจในการกําหนดนโยบาย แผนงานและกลยุทธ์ในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อไป การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2562 ใช้วิธีการทางสถิติแบบอนุกรมเวลา  (Time series analysis) แบบ ARIMA โดยใช้ข้อมูลจํานวนผู้ป่วยย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปี (ปีพ.ศ. 2551-2560) ซึ่งผลการวิเคราะห์ คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2562 ประมาณ 74,000 – 75,000 ราย คาดว่าจะมีจํานวนผู้ป่วย เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ประมาณ 28 - 29% และอัตราป่วยตายอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 0.11 ทั้งนี้โดยมีอิทธิพลจาก การเปลี่ยนแปลงของไวรัสเดงกีชนิด DENV-2 ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยกลุ่มเสี่ยงสําคัญยังคงเป็น กลุ่มนักเรียน นักศึกษา อยู่ระหว่างกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี (ประมาณร้อยละ 25.58) สําหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอ โดยใช้แนวคิดด้านการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยทําการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ (Geo-statistical Analysis) แบบ Inverse Distance Weighting; IDW และใช้ GIS Software เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระดับอําเภอ จากปัจจัยพื้นที่ ที่มีจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกหนาแน่นซ้ำซาก และแนวโน้มความรุนแรงของการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไป ผลการวิเคราะห์คาดว่ามีจํานวนพื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอทั้งสิ้น จํานวน 237 อําเภอ ใน 70 จังหวัด จากผลการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกและการประเมินพื้นที่เสี่ยง ที่คาดว่าจะเกิดการระบาด ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2562 ดังกล่าว กรมควบคุมโรคจึงต้องมีการกําหนดแผนงาน มาตรการ และการใช้ ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต้องเน้นมาตรการการป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะช่วงเวลาสําคัญที่ควร ดําเนินการคือช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่โอกาสการแพร่โรคเกิดน้อยที่สุด ทั้งนี้องค์ประกอบ สําคัญของการดําเนินการคือความร่วมมือจากประชาชน ชุมชน อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ส่วนการควบคุมโรค มีความจําเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้าน อุปกรณ์เครื่องมือ สารเคมีและทีมสอบสวนควบคุมโรค (CDCU) ให้มีความเพียงพอและมีประสิทธิภาพที่สามารถควบคุมโรคได้ อย่างทันเวลาในพื้นที่เสี่ยงและ/หรือพื้นที่เกิดโรค เพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้าง ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 บ้านสะเก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กนักเรียน เนื่องจากกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเด็กที่จะเกิดโรคมากที่สุดจากรายงานสถานการณ์โรคที่ผ่านมา จึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคใน สถานศึกษา มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และลดอัตราป่วยในพื้นที่ลง โดยอาศัยความร่วมมือในทุกระดับตั้งแต่ครัวเรือนจนถึงระดับชุมชน และมีพฤติกรรมร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของสถานศึกษา มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่
  1. โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในตำบลได้รับการพ่นหมอกควันระหว่างปิดภาคเรียน จำนวน 2 ครั้ง/โรง/ภาคเรียน
  2. มัสยิดและโรงเรียนตาดีกาได้รับการพ่นหมอกควันอย่างน้อย 1 ครั้ง
  3. โรงเรียนเอกชนหรือสถาบันการศึกษาปอเนาะ จำนวน 2 ครั้ง / แห่ง
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินการ 1. จัดทำแผนงาน/โครงการ และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อของบประมาณ ระยะดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการ 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน 3. จัดกิจกรรมพ่นหมอกควันในสถานที่ ดังต่อไปนี้ -  โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กระหว่างปิดภาคเรียน -  สถาบันการศึกษาเอกชนและปอเนาะ ระยะหลังดำเนินการ 1. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพกรงปินัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชน สถานศึกษา บริเวณมัสยิด ลดลง 6.2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 6.3 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2562 15:28 น.