กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ (องค์กร "ดูแล ห่วงใย ใส่ใจป้องกัน"เอดส์ในที่ทำงาน) ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7255-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรค
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 90,265.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานป้องกันและควบคุมโรคโดย นางจิราภรณ์ สมุหเสนีโต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 90,265.00
รวมงบประมาณ 90,265.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 295 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 295 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 งบประมาณโดยรวมที่ใช้ในการควบคุมปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(บาท)
50,000.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
2.00
3 จำนวนผู้ที่ได้รับการการตรวจคัดกรอง การประเมิน การวินิจฉัยและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ(คน)
2.00
4 จำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย(ครั้ง)
2.00
5 มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(มาตราการ)
2.00
6 กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน(คน)
20.00
7 ร้อยละของผู้ใหญ่(อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป) ที่สูบบุหรี่
10.00
8 จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ (จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)
1.00
9 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน)
20.00
10 งบประมาณต่อปีที่ใช้ไปในการจัดการควบคุมยาสูบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(บาท)
10,000.00
11 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน(คน)
20.00
12 จำนวนมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน (มาตรการ)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 มาตรา 48 เตรส (2) ประกอบมาตรา 53 (4) มาตรา 54 (7) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 16 (19) ให้มีหน้าที่การสาธารณสุข      การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล เนื่องจากปัญหาเอดส์เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากทั้งต่อบุคคล องค์กร ชุมชนและสังคม โดยกลุ่มคนวัยทำงานเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอช ไอ วีสูง เพราะเป็นกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสติดเชื้อ เอช ไอ วี ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย และการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเอดส์ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดความกลัวและกังวลที่จะเกิดทั้งกับตนเอง องค์กร และชุมชน จนนำไปสู่การไม่ยอมรับการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี สถานการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรบุคคลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนวัยแรงงาน ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลักในการสร้าง  ความเข้มแข็งขององค์กรและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ในจังหวัดสงขลา ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 11,874 ราย เป็นกลุ่มเป้าหมายเด็ก 59 ราย เยาวชน 335 ราย และผู้ใหญ่ 7,056 ราย มีผู้ติดเชื้อ
และผู้ป่วยเอดส์ ที่เสียชีวิตแล้ว จำนวน 735 ราย เมื่อแยกจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ของจังหวัดสงขลาตามรายอำเภอ ที่มีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์สูงสุด 3 ลำดับแรกคืออำเภอหาดใหญ่ เมืองสะเดา มีจำนวน 5,866,2,512 และ 552 คน ตามลำดับ (ที่มา:ฐานข้อมูล National AIDS Program)
        ที่ผ่านมากระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและสมาคมธุรกิจร่วมต้านภัยเอดส์ได้ร่วมกันพัฒนาและผลักดัน แนวปฏิบัติการป้องกันและจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการเพื่อให้สถานประกอบกิจการซึ่งอยู่ในภาคส่วนธุรกิจได้นำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ในการพัฒนาองค์กร ต่อมาด้วยความร่วมมือ  ขององค์กรภาครัฐต่างๆ เครือข่ายผู้ติดเชื้อและองค์กรระหว่างประเทศเห็นว่าแนวปฏิบัตินี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน ถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานด้านเอดส์ เพื่อลดการติดเชื้อเอช ไอ วี รายใหม่ ลดการรังเกียจ ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสถานที่ทำงาน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสถานประกอบกิจการ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและองค์กรอื่นๆ
          เทศบาลเมืองคลองแห เป็นองค์กรภาครัฐที่มีการให้บริการด้านสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันและจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ดังนั้นเพื่อสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจเรื่องเอดส์ที่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ดีและอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพในสิทธิ ศักดิ์ศรีและห่วงใย เอื้ออาทรซึ่งกันและกันในองค์กร ชุมชนและสังคม จึงได้จัดทำกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในที่ทำงานขึ้น ภายใต้โครงการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ได้รับการการตรวจคัดกรอง การประเมิน การวินิจฉัยและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ

จำนวนผู้ที่ได้รับการการตรวจคัดกรอง การประเมิน การวินิจฉัยและการวางแผนให้ความช่วยเหลือ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

2.00 30.00
2 เพื่อลดจำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อย

จำนวนเหตุการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติดในชุมชน เช่น การเกิดอาชญากรรม การเกิดลักเล็กขโมยน้อยลดลงเหลือ(ครั้ง)

2.00 1.00
3 เพื่อเพิ่มกำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

20.00 50.00
4 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

มาตรการทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชน หรือการสร้างข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น (มาตราการ)

2.00 4.00
5 เพื่อเพิ่มงบประมาณโดยรวมที่ใช้ในการควบคุมปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

งบประมาณโดยรวมที่ใช้ในการควบคุมปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็น(บาท)

50000.00 80000.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนเพิ่มขึ้น(คน)

20.00 40.00
7 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

มาตรการชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น(มาตรการ)

1.00 2.00
8 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

20.00 40.00
9 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของผู้ใหญ่

อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปลดลงเหลือ(ร้อยละ)

10.00 8.00
10 เพื่อเพิ่มงบประมาณต่อปีที่ใช้ไปในการจัดการควบคุมยาสูบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

งบประมาณต่อปีที่ใช้ไปในการจัดการควบคุมยาสูบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็น (บาท)

10000.00 15000.00
11 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

2.00 1.00
12 เพื่อเพิ่มกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)

1.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์สร้างแกระแสและประชาสัมพันธ์ 0 0.00 -
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 รณรงค์สร้างกระแสและประชาสัมพันธ์ 500 7,925.00 -
25 ส.ค. 63 - 25 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ ผู้บริหาร พนักงานเทศบาล และลูกจ้าง 200 79,740.00 -
26 - 31 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานและติดตามประเมินผล จำนวน 20 คน จำนวน 2 ครั้ง 20 2,600.00 -
21 พ.ย. 63 - 21 มี.ค. 63 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม 0 0.00 -
21 พ.ย. 63 - 21 ก.พ. 63 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการแก่ ผู้บริหาร พนักงานเทศบาล และลูกจ้าง 0 0.00 -
รวม 720 90,265.00 0 0.00

1.จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ผู้บริหารประกาศนโยบายเรื่อง การป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน
3 แจ้งนโยบายองค์กรเรื่อง การป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ให้บุคลากรทุกคนทราบ
4 แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานโครงการฯ และจัดทำโครงสร้างทีมงานรับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศ
5 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์ จำนวน 5 รุ่นๆ ละ 60 คน
6 จัดกิจกรรมส่งเสริมการป้องกันเอดส์ให้กับบุคลากร เช่น ติดตั้งตู้บริการถุงยางอนามัยในสถานที่ทำงาน
5.7 รณรงค์ให้ความรู้และจัดนิทรรศการในวันเอดส์โลก
8 จัดบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคเอดส์ และการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี โดยความสมัครใจของบุคลากร
9 จัดทำแนวทางการรักษาความลับหรือการป้องกันไม่ให้มีการเปิดเผยผลการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแก่บุคคลอื่น
10 ประสานและจัดการส่งต่อสิ่งส่งตรวจไปยังโรงพยาบาลหาดใหญ่เพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวี
11 สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 บุคลากรขององค์กรได้รับการดูแลและคุ้มครองสิทธิ และได้รับการดูแลป้องกันให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์สารเสพติดเหล้า บุหรี่
2 องค์กรได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ และได้รับการประชาสัมพันธ์ว่าเป็นองค์กรที่เคารพสิทธิไม่เลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงานด้วยการใช้เงื่อนไขจากเอดส์และเพศภาวะ และห่วงใยป้องกันบุคลากรให้ปลอดภัยจากเอดส์สารเสพติด
3 ประชาชนทั่วไปเกิดความรู้สึกและมีภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร ว่า เป็นองค์กรที่เคารพสิทธิไม่เลือกปฏิบัติด้วยการใช้เงื่อนไขจากเอดส์ในการจ้างงาน และให้การดูแลคุ้มครองสิทธิของคนทำงานในหน่วยงานอย่างเท่าเทียมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2562 21:07 น.