กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-50105-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 117,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการกองทุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.765,99.956place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
1.00
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
1.00
3 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
1.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ถือเป็นแนวทางหลักที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขซึ่งได้มีการดำเนินการและพัฒนาการมาอย่างยาวนานกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงเน้นการทำกิจกรรม โดยความคิดริเริ่มของประชาชนและชุมชนเอง กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวงจึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของเครือข่ายองค์กรชุมชนกลุ่มและประชาชนเป้าหมาย การบริหารจัดการกองทุน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ เริ่มตั้งแต่การวางแผนการดำเนินงานซึ่งเป็นตัวชี้ว่ากองทุนฯ จะเดินไปในทางทิศใดดังนั้นถ้าการวางแผนการดำเนินงานให้มีกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ที่ดี จะทำให้การดำเนินงานของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ สนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินให้แก่ผู้รับทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

1.00 90.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่กองทุน

จำนวนคณะกรรมการ อนุกรรมการ  และเจ้าหน้าที่กองทุน  ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

1.00 43.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรม  หน่วยงานภายนอกได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ

10.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่รายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ

กองทุนสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุนภายในเดือนมกราคม 2563  ร้อยละ  50  และภายในเดือนกรกฎาคม 2563 ร้อยละ  90

1.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ต.ค. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC 12 3,600.00 3,000.00
12 พ.ย. 62 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ 7 2,100.00 1,500.00
18 ธ.ค. 62 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 1/2563 23 6,900.00 5,700.00
21 ม.ค. 63 ประชุมอนุกรรมการ LTC 12 3,600.00 0.00
8 มิ.ย. 63 ค่าจัดซื้อวัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ 23 21,600.00 3,050.00
21 ก.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 2/2563 25 7,500.00 5,400.00
28 ส.ค. 63 ประชุมอนุกรรมการติดตามผลโครงการ 16 4,800.00 4,800.00
24 - 25 ก.ย. 63 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่กองทุน และการจัดทำแผนสุขภาพตำบล ประจำปี 2564 47 60,000.00 58,030.00
30 ก.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ 3/2563 23 6,900.00 5,400.00
รวม 188 117,000.00 9 86,880.00
  1. ขั้นตอนวางแผน         - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน         - กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ
  2. ขั้นตอนการดำเนินงาน         - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย         - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม         - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน         - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม
  3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด         - จัดประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี         - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี     - จัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี         - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวง มีความต่อเนื่อง สามารถใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน ๒. คณะกรรมการรกองทุนมีศักยภาพและมีความพร้อมในการบริหารกองทุนฯ ๓. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2562 10:09 น.