กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย ปี 2563
รหัสโครงการ 2563-L6896-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 14,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กลุ่มบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ คือ “หญิงตั้งครรภ์” เพราะหญิงตั้งครรภ์นั้นยังมีอีกหนึ่งชีวิตที่อยู่ร่วมด้วยนั้นก็คือ ทารกในครรภ์ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลถูกต้อง มีคุณภาพตามเกณฑ์ ก็จะส่งผลให้ทารกในครรภ์คลอดมีคุณภาพ เขตเทศบาลนครตรัง 11 ชุมชน ปี 2562 มี หญิงตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 97 คน ได้รับการสำรวจจาก อสม. ในพื้นที่ 11 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง พบหญิงตั้งครรภ์อยู่จริงในพื้นที่ 94 คน อยู่นอกพื้นที่ 11 ชุมชน 3 คน หญิงหลังคลอดทั้งสิ้น 65 คน ได้รับการลงเยี่ยมมารดาหลังคลอดจากพยาบาลประจำชุมชน ในพื้นที่พบหญิงหลังคลอดอยู่จริงในพื้นที่ 45 คน (ร้อยละ 69.23) หญิงหลังคลอดอยู่นอกพื้นที่ 11 ชุมชน 20 คน (ร้อยละ 3.08) รอคลอด 29 คน มาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง 32 คน(ร้อยละ 71.11) มาฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง 11 คน (ร้อยละ24.44) พบว่า หญิงตั้งครรภ์ไม่ได้มาฝากครรภ์ (No ANC) จำนวน 2 คน (ร้อยละ 4.44) มารดาคลอดปกติ 20 คน คลอดผิดปกติ(ผ่าตัดคลอด) 25 คน เด็กแรกคลอดปกติ 45 คน มีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม 0 คน มารดาคลอด 45 คน พบมีความเข้มข้นของเลือด (HCT) มากกว่า 33 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 35 คน(ร้อยละ 77.78) น้อยกว่า 33 เปอร์เซ็นต์ 8 คน (ร้อยละ 17.78) มารดาคลอด No ANC จำนวน 2 คน (ร้อยละ 4.44)   กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นประโยชน์ของการดูแลส่งเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอด ได้รับการดูแลตามเกณฑ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงได้จัดทำ “โครงการแม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย ปี 2563” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์ (5 ครั้ง ตามเกณฑ์) ครั้งที่ 1 เมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 16 - 19 สัปดาห์ ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 24 - 25 สัปดาห์ ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 30 - 31 สัปดาห์ ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 36 - 40 สัปดาห์

ร้อยละ 60 ของหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์(5 ครั้ง ตามเกณฑ์)

0.00
2 เพื่อให้ทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) มีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม

เด็กแรกเกิดในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน )        มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

0.00
3 หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ไม่มีภาวะโลหิตจาง (Hct ≥ 33%)

หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง(11 ชุมชน)ทุกคน ได้รับการดูแลรับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีน (150 – 200 ไมโครกรัม) ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัม และโฟเลต 400 ไมโครกรัม

0.00
4 หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงได้รับการฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยง

หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน)ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงทุกคน ได้รับการฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยง

0.00
5 มารดาและทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน) ได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอด

ร้อยละ 65 ของมารดาและทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง(11 ชุมชน) ได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,320.00 3 12,820.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ อสม./ จิตอาสาในชุมชน ในการติดตามหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกแรกเกิด และให้ความรู้การดำเนินงานชมรมจิตอาสาแม่และเด็กในชุมชน 0 11,320.00 11,320.00
7 ต.ค. 62 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์ มารดาและทารกหลังคลอดในชุมชน 0 0.00 0.00
7 ต.ค. 62 กิจกรรมติดตามประเมินการดำเนินงาน อสม./จิตอาสาในชุมชน 0 3,000.00 1,500.00
  1. ประชุมทีมพยาบาลประจำชุมชน และแกนนำชุมชน/อสม. ในการจัดทำโครงการครรภ์คุณภาพ
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
  4. วิเคราะห์ติดตามผลการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ
    1. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) ได้รับการดูแลและมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  2. ทารกหลังคลอดในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมขน) มีน้ำหนักมากกว่า 2500 กรัม
  3. หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง ( 11 ชุมชน ) ไม่มีภาวะโลหิตจาง
  4. หญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาลนครตรัง (11 ชุมชน )ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยง ได้รับการฝากครรภ์ที่คลินิกครรภ์เสี่ยง
  5. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการติดตามเยี่ยมหลังคลอด ครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์
  6. เกิดชมรมจิตอาสาแม่และเด็ก ในชุมชน
  7. ชมรมจิตอาสา แม่และเด็กในชุมชน ผ่านการประเมินมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2562 09:10 น.