กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเด็กนักเรียนตำบลมูโนะ เหาตาย สบายศีรษะ

ขั้นตอนการดำเนินงาน23 ธันวาคม 2563
23
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.มูโนะ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการต่อชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. โรงเรียน
1.2 ประชาสัมพันธ์โดยการประชุม ถ่ายทอดโครงการสู่ชุมชนที่ประชุมชาวบ้าน ที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล
1.3 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับรายละเอียดและแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.4 การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน กิจกรรมที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1 กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองนักเรียนที่เป็นเหา
1) สำรวจจำนวน และรายชื่อเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากรายงานการตรวจสุขภาพนักเรียน
2) ตรวจคัดกรองเหาในเด็กที่นักเรียนสำรวจรายชื่ออีกรอบ และสำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาเพิ่มเติม
3) ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน/ประสานผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 2.2 กิจกรรมที่2การให้ความรู้เรื่องเหา กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
1) ให้ความรู้เรื่องการป้องกัน และรักษาโรคเหา แก่เด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่เป็นเหาโดยให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถาม ก่อนและหลังการให้ความรู้ 2) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้น้ำยาสกัดใบน้อยหน่าชโลมให้ทั่วศีรษะโพกผ้าขนหนูทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมงจึงล้างออก 3) เด็กนักเรียนสระผมอีกครั้ง พร้อมใช้หวีเสนียดสางเอาตัวและไข่เหาออก
4) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อกัน 3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 1 สัปดาห์
5) เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม  54,476.00  บาท กิจกรรมที่ 3 ขั้นประเมินผล 1) เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
2) สรุปผลการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำนวนนักเรียนเป็นเหาลดลง และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
  2. ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้เรื่องการป้องกัน และวิธีกำจัดเหา สามารถนำไปปฏิบัติให้กับบุตรและตนเองได้