กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ผู้เลี้ยงดู และผู้ปกครอง ด้านการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 60-L5311-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำผุด
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 65,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุ่งศักดิ์จอสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 182 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี๒๕๕๙ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเพื่อเป็นทิศทาง การขับเคลื่อนประเทศ ๑๑ ประเด็น และการดูแลสุขภาพประชาชน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลข้อ ๕ การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลสุขภาพประชาชนทุกช่วง ชีวิต ได้กำหนดแผนบูรณาการยุทธศาสตร์ สุขภาพ ๑๕ ด้าน โดยเฉพาะด้านพัฒนาสุขภาพ กลุ่มเด็ก กลุ่มสตรี และเด็กปฐมวัย เป็นประเด็นที่ตอบสนองต่อการพัฒนาสาธารณสุข ตามแนวพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นประเด็นสำคัญ ที่ต้องการลดปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพตามกลุ่มวัย โดยเฉพาะเด็กกลุ่ม ๐-๕ ปี ให้มีพัฒนาการที่สมวัย โดยเน้นการบูรณาการกับหน่วยงาน ภายในที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานภายนอก อาทิ ภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และประชาชน เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติราชการ สนองพระราชดำริ เป็นไปอย่างเข้มแข็งและมีความยั่งยืน ตอบสนองแผนงานส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระเทพรัตน ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยมีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้อง มีมาตรฐานอย่างเท่าเทียม จากพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู ชุมชน ตลอดจนการบูรณาการแผนงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กไทย ให้เป็นไปตามศักยภาพ หรือมีศักยภาพที่สูงกว่า ประเทศไทย ในช่วงปี ๒๕๔๒–๒๕๕๘กรมอนามัยได้ดำเนินการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัยทุก ๓ปียังคงพบเด็กที่มีข้อสงสัยล่าช้าด้านพัฒนาการ มีแนวโน้มที่สูงถึงร้อยละ ๓๐จากการสำรวจของตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า มีเพียง ร้อยละ ๒๐ของพ่อแม่/ผู้ดูแลเด็กที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนของเด็ก (สำนักงานสถิติแห่งชาติ ๒๕๕๕) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กไทยจำนวนมากมีระดับพัฒนาการตามศักยภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็นปี ๒๕๕๖กระทรวงศึกษาธิการรายงานเด็กป. ๔-๖จำนวนร้อยละ ๑๐-๑๕อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และในปี ๒๕๕๗สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนสสค. ได้รายงานผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พบว่า ไทยอยู่อันดับที่ ๒๙จาก ๖๐ประเทศ ซึ่งลดลง ๒อันดับจากปี ๒๕๕๖และจากรายงานผลการคัดกรองพัฒนาการเด็ก อายุ ๔๒ เดือน โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ โดยวิธีการสุ่มคัดกรอง ระหว่างวันที่ วันที่ ๖-๑๐กรกฎาคม๒๕๕๘พบว่า เขตสุขภาพที่ ๑๒ มีเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าเป็นอันดับสองของประเทศ ร้อยละ ๓๐.๘๓ (N=๖,๓๙๖)จังหวัดสตูล ร้อยละ ๔๕.๒๖(N=๔๒๒) อำเภอละงู ร้อยละ ๕๗.๙๒ (N=๙๖) และระดับตำบล (เขต รพ.สต.น้ำผุด) ร้อยละ ๑๑.๗๘ (N=๑๗) ตามลำดับ


จากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว เพื่อให้การขับเคลื่อนงานและพัฒนาระบบบริการ ด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมาย โดยมีภาคี เครือข่ายในชุมชนรับรู้สถานการณ์ปัญหาและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ตำบลละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.ผู้เลี้ยงดู และผู้ปกครอง ด้านการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัยในชุมชน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนให้เด็กในพื้นที่รับผิดชอบมีพัฒนาการสมวัย เพื่อที่จะเติบใหญ่เป็นคนไทยที่มีคุณภาพ และมีคุณค่าต่อสังคมและประเทศชาติสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ในพื้นที่

อสม.มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กร้อยละ 80

2 ๒. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในพื้นที่

เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองอย่างเหมาะสม ร้อยละ 100

3 ๓. เพื่อฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการเด็ก

อสม.สามารถเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในพื้นที่ได้ร้อยละ 100

4 ๔. เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมพัฒนาการเด็ก

อสม. ผู้ปกครองสามารถฝึกทักษะการคัดกรองพัฒนาการเด็กได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดการฝึกอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance & Promotion Manual) ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข โดยวิทยากร กำหนดเนื้อหา ดังนี้ - การเตรียมความพร้อมก่อนการตรวจคัดกรองพัฒนาการ จำนวน ๑ชั่วโมง - การสร้างสัมพันธภาพกับเด็กเพื่อการคัดกรองพัฒนาการ จำนวน ๑ชั่วโมง - ขั้นตอนการคัดกรองพัฒนาการ จำนวน ๑ชั่วโมง - การบันทึกผลการประเมินพัฒนาการ จำนวน ๑ชั่วโมง ๒. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข จัดทำทะเบียนเด็กปฐมวัยในพื้นที่ และแบ่งเด็กปฐมวัยเป็นกลุ่มตามพื้นที่ และมอบหน้าที่การติดตามเฝ้าระวังให้ อสม.
๓. อสม. ดำเนินการประเมินเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามอายุ และบันทึกในคู่มือเฝ้าระวังและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทุก ๑ เดือนพร้อมให้คำแนะนำพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการฝึกกระตุ้นและสังเกตพัฒนาการเด็ก ๔. หากพบเด็กมีพัฒนาการที่สงสัยล่าช้า ประสานเจ้าหน้าที่ รพสต.ทราบและแจ้งพ่อแม่หรือผู้ปกครองพาเด็กไปตรวจคัดกรองพัฒนาการกับเจ้าหน้าที่
๕. ชมรม อสม.สรุปผลการเฝ้าระวังพัฒนาการรายบุคคล ส่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย ๖. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กปฐมวัยทุกคน ได้รับการเฝ้าระวังตรวจประเมินพัฒนาการร้อยละ ๑๐๐ ๒. เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการติดตามตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 14:03 น.