กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบล LTC และกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัดผ่านกลไกพี่เลี้ยง 3 กองทุน จังหวัดสตูล ปี2563

เยี่ยมติดตามและสนับสนุนการทำงานกองทุน อบต.เกตรี โดยเกศวรางค์12 มิถุนายน 2563
12
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย เกศวรางค์ สารบัญ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประเมินการทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ตามแบบฟอร์มการประเมิน แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1.ประเมินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปีงบประมาณ 2563 คะแนนเต็มทั้งหมด 100 คะแนน ด้านที่ 1 สรุปการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ปีที่ผ่านมา
โดยมี ข้อย่อย 3 ข้อ รวมคะแนน 30 คะแนน ด้านที่ 2 การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ปีปัจจุบัน โดยมี ข้อย่อย 7 ข้อ รวมคะแนน 70 คะแนน ส่วนที่ 2 ประเมินงานกองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ปีงบประมาณ 2563 มีหัวข้อการประเมินกองทุน LTC จำนวน 4 หัวข้อ รวมคะแนน 50 คะแนน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี ด้านที่ 1 สรุปการดำเนินงานกองทุนที่ผ่านมา
1.1 ความครบถ้วน ถูกต้องของเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ประเมินได้ 10 คะแนน
1.2 ความครบถ้วนของเอกสารผลการดำเนินงาน    ประเมินได้ 10 คะแนน
สิ่งที่ตรวจพบ : ด้านเอกสารสรุปผลการดำเนินงานมีครบ แต่บันทึกผ่านโปรแกรม http://localfund.happynetwork.org/ ไม่ครบทุกโครงการ
1.3 กองทุนมีการบันทึกรายงานการเงินรายเดือน รายปี ของปีที่ผ่านมา และปิดโครงการครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่านโปรแกรม http://localfund.happynetwork.org/    ประเมินได้ 5 คะแนน
สิ่งที่ตรวจพบ : รายงานการปิดโครงการผ่านโปรแกรม http://localfund.happynetwork.org/ บันทึกผ่านโปรแกรมไม่ครบ ยังมีโครงการของปีงบประมาณ 2561-2562 ที่ยังไม่บันทึกอีกหลายโครงการ

ด้านที่ 2 การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปีปัจจุบัน
2.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฯ      ประเมินได้ 5 คะแนน
2.2 การจัดทำแผนการเงิน รับ-จ่าย ประจำปีและโครงการบริหารกองทุน ประเมินได้ 5 คะแนน
สิ่งที่ตรวจพบ : 1. แบบฟอร์มแผนการเงินประจำปีของกองทุนฯ มีเป็นแบบฟอร์มที่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งไม่มีการลงลายมือชื่อของเลขานุการกองทุนฯ และประธานกรรมการกองทุนฯ แต่นำเอกสารดังกล่าวนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อพิจารณาและมีการพิจารณาเห็นชอบในรายงานการประชุม 2. การจัดทำแผนโครงการประจำปี มีการจัดทำแผนโครงการประจำปี 7 แผนงาน คือ
-แผนงานบริหารจัดการกองทุนฯ - แผนงานปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สารเสพติด) และแผนงานสิ่งแวดล้อม
- แผนงานโรคเรื้อรัง -แผนงานอุบัติเหตุ -แผนงานเผชิญโรคระบาดและภัยพิบัติ -แผนงานกิจกรรมทางกาย ปัญหา อุปสรรคในการประเมิน แบบประเมินไม่ได้ระบุว่าจะต้องมีแผนงานครบหรือไม่ ระบุแค่ว่ามีแผนงาน ควรแก้ไขแบบประเมินให้ครอบคลุมมากขึ้น 2.3 การสมทบเงินของ อปท. ให้กองทุนฯ    ประเมินได้ 10 คะแนน
2.4 กองทุนประชุมกรรมการกองทุนเพื่ออนุมัติแผนงาน โครงการ กิจกรรมประจำปี
ประเมินได้ 10 คะแนน
2.5 กองทุนมีการทำแผนสุขภาพตำบลในประเด็นอาหารและโภชนาการ การเพิ่มการเคลื่อนไหวทางกาย ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพเรื่องยาเสพติด กลุ่มแรงงานนอกระบบ  ประเมินได้ 10 คะแนน
สิ่งที่ตรวจพบ : กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีมีแผนสุขภาพ 2 แผนงาน จากทั้งหมดที่ต้องมี 4 แผนงานที่กำหนดไว้ในแบบประเมินข้อนี้ คือ แผนงานปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สารเสพติด) และมีการเบิกจ่ายเงินแล้ว ร้อยละ 70.96 2.6 กองทุนฯมีโครงการตามข้อ 2.5 ที่ได้รับการอนุมัติและเบิกจ่ายแล้ว  ประเมินได้ 10 คะแนน
สิ่งที่ตรวจพบ : กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีมีโครงการใน 2 แผนงานที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการและเบิกจ่ายแล้ว คือ โครงการในแผนงานกิจกรรมทางกาย และโครงการในแผนงานปัจจัยเสี่ยงสุขภาพเรื่องยาเสพติด 2.7 กองทุนมีโครงการโรคเรื้อรัง NCD และเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก ประเมินได้ 10 คะแนน
สิ่งที่ตรวจพบ : กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีมีโครงการโรคเรื้อรัง NCD (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) ที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติและเบิกจ่ายเงินแล้ว ส่วนโครงการพัฒนาการเด็กไม่มีในแผนงานและไม่มีโครงการเสนอรับการพิจารณาจากคณะกรรมการ รวมคะแนนทั้งหมดได้ 85 คะแนน
ปัญหาอุปสรรคในการประเมิน : แบบประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ปีงบประมาณ 2563 ดังนี้ ข้อ 2.2 การจัดทำแผนการเงิน รับ-จ่าย ประจำปีและโครงการบริหารกองทุน ข้อที่ได้คะแนน 0 คะแนน กำหนดไว้ว่า ไม่มีการจัดทำแผนการเงินประจำปี ในข้อที่กำหนดว่าได้ 3 คะแนน มีแผนข้อใดข้อหนึ่ง ดังนั้น หากกองทุนฯใดมีการจัดทำแผนโครงการแต่ไม่มีการจัดทำแผนการเงินประจำปี จะได้ 3 คะแนน หรือ 0 คะแนน ข้อเสนอแนะ : ข้อที่ได้ 0 คะแนน ควรกำหนดว่า ไม่มีทั้งสองข้อ ได้ 0 คะแนน ข้อ 2.5 กองทุนมีการทำแผนสุขภาพตำบลในประเด็นอาหารและโภชนาการ การเพิ่มการเคลื่อนไหวทางกาย ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพเรื่องยาเสพติด กลุ่มแรงงานนอกระบบ แบบประเมินไม่ชัดเจนเรื่องการให้คะแนน หลายกองทุนฯที่มีเฉพาะบางแผนงาน แต่สัดส่วนการให้คะแนนไม่กำหนดไว้ ข้อเสนอแนะ : ควรแก้ไขแบบประเมินให้ครอบคลุม และมีสัดส่วนการให้คะแนนที่ชัดเจนกว่านี้ เพราะข้อที่ให้ 0 คะแนน ระบุว่าไม่มีการเบิกจ่ายเงินกองทุนฯ แต่หัวข้อการประเมินเป็นการประเมินแผนสุขภาพตำบล และถ้าหากว่ากองทุนฯที่มีแผนงาน ไม่ครบ มีเพียง 3 แผนงาน ใน 5 แผนงาน ควรได้กี่คะแนน ข้อ 2.6 กองทุนฯมีโครงการตามข้อ 2.5 ที่ได้รับการอนุมัติและเบิกจ่ายแล้ว สัดส่วนการให้คะแนนไม่ชัดเจน ข้อ 2.7 กองทุนมีโครงการโรคเรื้อรัง NCD และเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก สัดส่วนการให้คะแนนไม่ชัดเจน

กองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ปีงบประมาณ 2563 องค์การบริหารส่วนตำบลเกตรีไม่ได้สมัครเข้าร่วมดำเนินงาน กองทุนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ปีงบประมาณ 2563

  1. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ LTC ได้ 10 คะแนน
    2.การประชุมพิจารณาอนุมัติ Careplan ได้ 3 คะแนน
    3.การโอนงบประมาณให้หนาวยบริการ ได้ 3 คะแนน
    4.การบันทึก ADL เมื่อครบ 9 เดือน ได้ 2 คะแนน
    รวม 18 คะแนน

    ข้อเสนอแนะแบบประเมิน
  2. ควรแบ่งซอยย่อยการให้คะแนนการประเมินให้ละเอียดกว่านี้
  3. แบบประเมินข้อ 2.1 ประเมินแต่คำสั่งแต่งตั้งกรรมการกองทุน แต่ควรเพิ่มรายละเอียดการประเมินในประเด็นคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน คณะอนุกรรมการ คำสั่งการลงนามเบิกจ่าย ด้วย เพื่อความละเอียดมากกว่านี้
  4. แบบประเมินข้อ 2.4 พบว่า บางกองทุนมีวาระการประชุมอนุมัติโครงการ แต่ไม่มีการอนุมัติแผนงาน ควรมีการแยกย่อยประเด็นเพื่อสามารถให้คะแนนได้ชัดเจนขึ้น
  5. แบบประเมินข้อ 2.5 จำนวนร้อยละ ตามเกณฑ์ให้คำนวนจากฐานใด ตัวชี้วัดไม่บอกรายละเอียด
  6. แบบประเมินข้อ 2.6 แผนสุขภาพที่กำหนดให้ ควรมีสัดส่วนการให้คะแนนแยกออกแต่ละประเด็น และนำจำนวนโครงการมาเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนนด้วย
  7. แบบประเมินข้อ 2.7 แผนสุขภาพที่กำหนดให้ ควรมีสัดส่วนการให้คะแนนแยกออกแต่ละประเด็น และนำจำนวนโครงการมาเป็นเกณฑ์ในการให้คะแนนด้วย