กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ตำบลมะรือโบออก
รหัสโครงการ 63-L2480-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตัซนีม ต่วนมหญีย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยมีเป้าหมายสำคัญของการดำเนินงาน คือการทำให้เด็กอายุ 0-3 ปี มีพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็กอาจเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการสมวัย ที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทั้งนี้ เพราะหากเด็กมีฟันผุหลายซี่ในปาก อาจทำให้เด็กขาดสารอาหารเรื้อรัง เนื่องจากรับประทานอาหารลำบาก เคี้ยวไม่สะดวก มีนิสัยเลือกรับประทานเฉพาะอาหารนิ่มจำพวกแป้งและน้ำตาล ทั้งนี้ มีการวิจัยที่พบว่าการมีฟันผุหลายซี่ในปาก มีความสัมพันธ์กับภาวะแคระแกร็น (Stunt) ของเด็ก ฟันน้ำนมผุจึงอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้ นอกจากนี้ การมีฟันน้ำนมผุ ยังเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและเศษอาหาร ส่งผลให้ฟันน้ำนมซี่อื่นๆในปาก รวมถึงฟันแท้มีโอกาสผุมากด้วย จากสภาวะทันตสุขภาพในเด็ก 3 ปี ตำบลมะรือโบออก ในปี 2559-2562 มีฟันน้ำนมผุร้อยละ 91.3,84.2,82.3 และ 76 ตามลำดับ แม้ว่าแนวโน้มของโรคฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัยค่อย ๆ ลดลง แต่การจะไปถึงเป้าหมายของประเทศ( ไม่เกินร้อยละ ๕๐) นั้นต้องใช้รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคที่ผสมผสานอย่างต่อเนื่อง การฝึกนิสัยเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม และให้ภาคีเครือข่ายมี่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กในชุมชนอย่างจริงจังเนื่องจากการป้องกันโรคฟันผุในเด็กจำเป็นต้องอาศัยผู้ใหญ่ช่วยดูแล ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออกและองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ตำบลมะรือโบออก ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพเด็กในชุมชนจากผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก และรวมถึงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพเด็ก 0-3 ปีให้ได้รับการดูแลทันตสุขภาพอย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี มีความรู้เรื่องโรคฟันผุ และการดูแลทันตสุขภาพ

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี มีความรู้เรื่องโรคฟันผุ และการดูแลทันตสุขภาพ

75.00 77.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี สามารถทำความสะอาดช่องปากให้บุตรได้ถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3ปี สามารถทำความสะอาดช่องปากให้บุตรถูกต้อง

75.00 77.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 14,000.00 2 14,000.00
10 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-3 ปี 75 14,000.00 14,000.00
10 ก.ย. 63 สาธิตการทำความสะอาดเด็กอายุ 0-3 ปี 75 0.00 0.00
  1. ประชุมวางแผนแนวทางการดำเนินงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก
  2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกันต่อกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนเพื่อเกิดการส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
  3. พัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก โดยการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกัยการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-3 ปี
  4. เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ในการอบรม
  5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกันในเรื่องของโรคฟันผุ
  6. สาธิตการทำความสะอาดเ็กอายุ 0-3 ปี โดยสาธิตจากโมเดลและพร้อมปฏิบัติจริงในปากบุตรของตนเอง 7.สรุปผลการดำเนินงานแก่กลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องและรายงานผลการดำเนินงาน
  7. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคฟันผุ ร้อยละ 80 2.ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันในเด็ก 0-3 ปีได้ถูกต้อง 3.มีสภาวะโรคฟันผุลดลงในเด็ก 0-3 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2562 00:00 น.