กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ มหัศจรรย์ 270 วันแรกของมารดาและทารกในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L2480-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตัซนีม ต่วนมหญีย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ณ ปัจจุบันหญิงมีครรภ์มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคต่างๆในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดทำให้เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดมีความปลอดภัยและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง แต่หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องก็อาจจะทำให้การพัฒนาทั้งด้านร่างกายสติปัญญาและอารมณ์ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ควรจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ของตำบลมะรือโบออกอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสในปี ๒๕๖๒พบว่า อัตราการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ๘๕.๙๓ อัตราโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ๓๒ สัปดาห์คิดเป็นร้อยละ ๖.๒๕ และอัตราการคลอดบุตรน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม คิดเป็นร้อยละ ๗.๕๐ ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่สูง ปัญหาดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการมีภาวะเสี่ยงต่อการหญิงตั้งครรภ์และบุตร และส่งผลให้ไม่ได้รับการวางแผนการป้องกันดูแลถึงวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูง (High Risk )
ดังนั้นรพ.สต.มะรือโบออก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการฝากครรภ์ จึงได้เห็นความสำคัญในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะเริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดบุตรเพื่อลูกเกิดรอดและแม่ปลอดภัยจึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ ๒๗๐ วันแรกของมารดาและทารกในชุมชนขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

75.00 77.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

ไม่เกินร้อยละ 10 หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด

75.00 77.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการการประเมินภาวะโภชนาการ

ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในการหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ในการประเมินภาวะโภชนาการ

75.00 77.00
4 เพื่อให้มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

ร้อยละ ๘๐ มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์

75.00 77.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 14,000.00 1 14,000.00
11 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 75 14,000.00 14,000.00
22 ก.ย. 63 การติดตามเยี่ยมหลังคลอด 0 0.00 -

กิจกรรมที่ 1 - เจ้าหน้าที่และ สอม. ดำเนินการสำรวจติดตามหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน โดยจัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ทุกราย กิจกรรมที่ 2 - อบรมให้ความรู้เชิงรุกด้านการประเมินภาวะโภชนาการและประเมินภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย (ด้วนกราฟโภชนาการและสติ๊กเกอร์ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์) กิจกรรมที 3 - ตรวจคัดกรองและติดตามเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย กิจกรรมที่ 4 - เจ้าหน้าที่และ อสม. ออกติดตามเยี่ยมบ้านโดยให้ความรู้พร้อมคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์12สัปดาห์ ร้อยละ 80 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในระยะใกล้คลอด ไม่มากกว่า ร้อยละ10 3.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีความรู้ในการการประเมินภาวะโภชนาการ ร้อยละ80 4.มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2562 00:00 น.