กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยของแม่ปลอดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนปี 2563
รหัสโครงการ 63 - L2479 - 1 - 04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 7 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวหทัยรัตน์ สติรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-5ปี)ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
95.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กเด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบชุดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขแม้ว่าประเทศไทยจะมีมาตรการในการรณรงค์แก้ไขปัญหาการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็ยังมีเด็กในพื้นที่อีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานดังกล่าวและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งที่การฉีดวัคซีนสามารถช่วยชีวิตและสามารถป้องกันความพิการในเด็กได้และก่อประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและรัฐบาลในการรักษาและช่วยทำให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาวะของประชาชนโดยรวมจากการรับวัคซีนที่ครอบคลุมและทั่วถึง ผลของการขาดความตระหนักของผู้ปกครองผลข้างเคียงหลังการได้รับวัคซีนในเด็กความเชื่อและความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับวัคซีนในกลุ่มประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและระบบสาธารณสุขในพื้นที่มาอย่างยาวนานดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อประชาชนในพื้นที่มีความรู้เรื่องวัคซีนโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนโอกาสเกิดโรคความเสี่ยงการรักษาผลกระทบและทางเลือกในการป้องกันด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ และยังต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับหลักเจตนารมณ์ของอิสลามหลักการทางศาสนาสิทธิและคุณค่าในตัวบุคคลและมีความตระหนักช่วยกันดูแลบุตรหลานให้ได้รับการดูแลป้องกันและรักษาโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้บรรลุผลต่อไป จากผลการดำเนินงานงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิตอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาสในปี 2562 พบว่า ยังมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้วิเคราะห์สาเหตุที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์เนื่องจากผู้ปกครองขาดความตระหนักไม่เห็นความสำคัญของการรับวัคซีนนำเด็กมาฉีดวัคซีนช้ากว่ากำหนดจึงทำให้เข็มต่อไปช้าไปด้วยผู้ปกครองกลัวเด็กมีไข้หลังจากได้รับวัคซีนผู้ปกครองไม่มีเวลาและบางรายไม่สามารถติดตามได้เนื่องจากเด็กติดตามผู้ปกครองไปทำงานนอกพื้นที่จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องมีการให้ความรู้สร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองบิดามารดานำเด็กมาฉีดวัคซีนตามนัดและให้เด็กได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ได้เล็งเห็นถึงปัญหา จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนผู้ปกครองและสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้ผู้ปกครองนำบุตรมาฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์อายุ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยของแม่ปลอดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปี 2563ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิตอำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 -เพื่อให้เด็กเด็กที่มีอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5

เด็กเด็กที่มีอายุครบ 5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์

95.00 95.00
2 - เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 95

1.เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 95 2.เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 95 3.เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 95 4.เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ มากกว่าร้อยละ 95

95.00 95.00
3 -ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่เขตรับผิดชอบ

-ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่เขตรับผิดชอบ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 ก.ย. 63 ๑.จัดอบรมให้ความรู้ 70 15,500.00 15,500.00
10 ก.ย. 63 ติดตามฉีดวัคซีนเชิงรุก ในรายที่ไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด 0 0.00 0.00
10 ก.ย. 63 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 0 0.00 0.00
รวม 70 15,500.00 3 15,500.00

ขั้นเตรียมการก่อนดำเนินการตามโครงการ 1.สำรวจข้อมูลจำนวนเด็ก 0 – 5 ปีทั้งหมด ในเขตรับผิดชอบจำนวน 5 หมู่บ้านและสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุ ๒.จัดทำแผนปฏิบัติการเชิงรุก

ขั้นดำเนินการตามโครงการ 1. ติดตามฉีดวัคซีนเชิงรุก ในรายที่ไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีนตามนัด 2. อบรมให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ จำนวน 70 คน 3. อสม.ติดตามผู้ปกครองให้มาฉีดวัคซีนตามนัดและมารับวัคซีนให้ครบชุดตามเกณฑ์อายุอย่างต่อเนื่อง

ขั้นสรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 1.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 2.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บูกิต ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

2.เด็กอายุครบ 5 ปี ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บูกิตได้รับวัคซีนครบชุด เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 5

3.ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนเพิ่มมากขึ้น

4.ผู้ปกครองมีความตระหนักในการที่จะนำบุตรหลานมารับบริการวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์อายุ

5.เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุมากกว่าร้อยละ 95

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2562 00:00 น.