กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการบูรณาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และ งานอาหารปลอดภัย ในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปี ๒๕๖๐

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ และ งานอาหารปลอดภัย ในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L5311-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำผุด
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรุ่งศักดิ์ จอสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้มาลาเรียยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ส่วนมากพบในพื้นที่ที่มีบริเวณเป็นภูเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติหรือเขาชันมีลำธาร โดยยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรีย จากสถานการณ์โรคของจังหวัดสตูล พบว่า อำเภอละงูตำบลน้ำผุด จำนวนผู้ป่วยตั้งแต่ ตั้งแต่ ๓๑ ธ.ค. ๕๒ ถึง ๓๐ พ.ค. ๕๓ พบผู้ป่วยจำนวน ๑๓๐ ราย ประกอบด้วย พื้นที่ หมู่ที่ ๔ , ๕ , ๖ , ๑๐ ตำบลน้ำผุด และพบมากที่สุดคือหมู่ที่ ๑๐ บ้านวังนาใน กลุ่มประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ระบาดในช่วง เดือน เมษายน – กรกฎาคม โดยสาเหตุของการแพร่ระบาดพบว่า เกิด index case มานานแต่เพิ่งตื่นตัวเมื่อมีการระบาดใหญ่ , บุคลากรมีความรู้ด้านการควบคุมไข้มาลาเรียน้อย , ไข้มาลาเรียยังคงเป็น Vertical Program แต่มีอัตรากำลังในการควบคุมการระบาดน้อย , มีปัญหาการดำเนินการระหว่างพื้นที่ / อปท. และ ผู้ประกอบการ (ข้อมูลจาก งานระบาดวิทยา สสจ.สตูล)
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำผุด จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อและ งานอาหารปลอดภัย ในพื้นที่ แหล่งท่องเที่ยวตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูลปี ๒๕๖๐ ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ ม.๑๐ เป็นพื้นที่ ท่องเที่ยวใหม่ ของจังหวัดสตูล ซึ่งได้รับการโปรโมท จาก ททท. ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การล่องแก่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ อสม. และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ มีความรู้เรื่องการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ งานด้านอาหารปลอดภัย

อสม.และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่มีความรู้เรื่องการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ งานด้านอาหารปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 100

2 ๒.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่

ไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วย ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ,10

3 ๓.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมสมัครโครงการอาหารปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

ผู้ประกอบการให้ความสนใจสมัครโครงการอาหารปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

4 ๔.เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนในการดำเนินงานควบคุมป้องป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ มีเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ค้นหาผู้ป่วย

ผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับ อสม.ในการดำเนินเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ การค้นหาผู็ป่วยคิดเป็นร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑.เพื่อให้ อสม. และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ มีความรู้เรื่องการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ งานด้านอาหารปลอดภัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมสมัครโครงการอาหารปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ๔.เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนในการดำเนินงานควบคุมป้องป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ มีเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ค้นหาผู้ป่วย

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ประชุมอบรม ให้ความรู้แก่ อสม. และผู้ประกอบการในพื้นที่ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ และเรื่องอาหารปลอดภัย จำนวน ๖๐ คน ๒. เจาะโลหิตเพื่อเฝ้าระวัง ค้นหาผู้ป่วยชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ที่ ๔, ๑๐โดย อสม. จำนวน ๓ ครั้ง ๓. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ คู่มือ ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ ๔. สรุป/ประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม. และผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ มีความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่และเรื่องอาหารปลอดภัย
๒. เกิดความร่วมมือในชุมชนในการดำเนินงานควบคุมป้อง ป้องกันโรคติดต่อในพื้นที่ เพิ่มเครือข่ายการเฝ้าระวังในพื้นที่โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ค้นหาผู้ป่วยหรือนักท่องเที่ยว ๓. เกิดความร่วมมือ เครือข่าย อาหารปลอดภัยในแห่ลงท่องเที่ยว ๔. เกิดภาคีเครือข่ายการเฝ้าระวังโรค ในชุมชน ๕. เกิดภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบการ อาหารปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 14:52 น.