โครงการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ (ประเภท 5 กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่) (เพิ่มเติม) กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
ชื่อโครงการ | โครงการ ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ (ประเภท 5 กิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่) (เพิ่มเติม) กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) |
รหัสโครงการ | 63-L7250-5-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ |
วันที่อนุมัติ | 18 กันยายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 สิงหาคม 2563 |
งบประมาณ | 250,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ( นางศรินทิพย์ มุณีสว่าง ) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น และต่อมาระบาดไปอีกหลายเมือง ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 86,993 ราย เสียชีวิต 2,980 ราย แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรค สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 42 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 1 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 1 มีนาคม 2563)
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบของ เทศบาลนครสงขลา
เทศบาลนครสงขลา รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติอย่างรวดเร็วตามความต้องการของพื้นที่ สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง |
0.00 | |
2 | เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ ลดอัตราป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากโรคและภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ |
0.00 | |
3 | 1. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้กับผู้นำชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
|
0.00 | |
4 | 2. เพื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลนครสงขลา
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ขั้นตอนวางแผนงาน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ
รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
- ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครสงขลา
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
2. ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ อบรม ให้ความรู้กับประชาชน, อสม.และแกนนำชุมชนในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)
3. ดำเนินการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคโคโรนาไวรัส 19 (COVID-19) ในโรงเรียน, ชุมชน, ตลาด และสถานประกอบการภายในเขตเทศบาลนครสงขลา
3. สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
4. ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
5. สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
- ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
- ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครสงขลา ได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
- การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2562 10:40 น.