กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมปี 2562
รหัสโครงการ 62-L2481-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี พงษ์พานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 756 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งทุกชนิดเป็นสาเหตุการตายในอันดับต้นๆ และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จากสถิติ พบว่าสาเหตุการป่วยด้วยมะเร็งเต้านมมีอัตรา ๒๘.๒๖ พบมากในสตรีอายุ ๓๕ – ๖๐ ปี รองลงมาคือมะเร็งปากมดลูก ซึ่งในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45 – 50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี วิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด ของมะเร็งทั้ง ๒ ชนิด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรกเพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด จากผลการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC/WHO) พบว่าถ้าทำ Pap Smear 1 ครั้งทุกปี หรือ 1 ครั้งทุก 2 ปี หรือ 1 ครั้งทุก 3 ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 91 – 93 ทำ Pap smear 1 ครั้งทุก 5 ปีจะลดลงร้อยละ 84 (โดยทำ screen ในผู้หญิงอายุ 35 – 64 ปี) ดังนั้นการให้ความรู้ ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต การสร้างความตระหนักแก่ประชาชนกลุ่มสตรี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลป้องกันตนเอง การตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติในระยะแรก ทำให้สามารถได้รับการดูแลรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ลดอัตราป่วย และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้       จากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบล บ้านตะเหลี่ยง ปี ๒๕61 กลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 20.06 ซึ่งได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัด และกลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ได้คัดกรองโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 636 คน คิดเป็นร้อยละ 90.08 การให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก จะส่งผลทำให้อัตราป่วยและอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง แต่ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดจะต้องให้ได้รับการคัดกรองทุกคนในกลุ่มเป้าหมาย 30- 60 ปีภายในระยะเวลา 5 ปี ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบล บ้านตะเหลี่ยง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สตรีมีความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและสามารถป้องกันโรคได้ ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อรณรงค์กระตุ้นให้สตรีได้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี  ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์กระตุ้นให้สตรีได้ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยจนท.

สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒0

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 756 18,900.00 0 0.00
15 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 756 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25.- บาท 756 18,900.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินตามโครงการ 1.แต่งตั้งคณะทำงานในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ อสม. ผู้นำชุมชน 2.อสม.สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบประมานสนับสนุนในการดำเนินโครงการ 4.จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ       5.เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในเขตรับผิดชอบติดตามและให้บริการคัดกรองเชิงรุกให้แก่ สตรีอายุ 30 – 60 ปี ในเขตรับผิดชอบ       6.จัดกิจกรรมเสียงตามสายประชาสัมพันธ์โครงการในหมู่บ้าน       7.จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย เข้ามารับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก       8.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วย การอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม       9.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สาธิต วิธีการตรวจเต้านมโดยท่าต่างๆ
      10.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายในสถานบริการทุกวัน
      11.ส่งต่อกลุ่มป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ พบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษา ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล       12.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ       13.รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง       14.ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้ และเกิดความตระหนักในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2.กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30 – 60 ปี ที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะรุนแรงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 12:00 น.