กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพพนักงานเทศบาลตำบลกำแพง และแกนนำชุมชน
รหัสโครงการ 62-5309-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา เทศบาลตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 11 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ตุลาคม 2562 - 29 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 48,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.หญิงอหนัดนงค์ รัตนวิภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบในหลายด้าน ถือเป็นภัยเงียบระดับชาติและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กลุ่มโรคดังกล่าวนี้มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ ๖๓ และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ ๘๐ ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึงร้อยละ ๑๐ และสูงกว่าทุกประเทศในโลก การดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน ได้มีหลากหลายแนวคิดการดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิบัติงานตามองค์การอนามัยโลก แนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขตามคู่มือการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใช้หลัก ๓อ.๒ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการสำรวจ พบว่าพนักงานเทศบาล ส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกาย และจากการคัดกรองการบริโภคหวาน มัน เค็ม พบว่า ในการบริโภคอาหารเน้นการปรุงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ส่งผลต่อการเกิดโรคต่างๆตามมา ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ และการออกกำลังกาย จากความสำคัญข้างต้น ทางเทศบาลตำบลกำแพงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม รักษา หรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงานเทศบาลตำบลกำแพง และแกนนำ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไปนั้น เทศบาลตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้พนักงานเทศบาลและแกนนำชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการรักษาและการดูแลเอาใจใส่สุขภาพในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น และเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน ในการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหาร และนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง    ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดหวาน มัน เค็ม ของพนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน

พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ได้ ร้อยละ ๖๐

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของพนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน ได้ถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนเทศบาลตำบลกำแพง ทั้ง 8 ชุมชน ให้หันมาดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกาย

พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน ได้ถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนเทศบาลตำบลกำแพง ทั้ง 8 ชุมชน สามารถปฏิบัติตนในการออกกำลังกายได้ ร้อยละ ๖๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 260 48,000.00 0 0.00
18 ต.ค. 62 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโรคเบาหวาน-ความดัน 130 26,350.00 -
19 พ.ย. 62 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย 130 21,150.00 -
15 - 29 พ.ค. 63 จัดทำเอกสารสรุปผลโครงการ 0 500.00 -

๑. ขั้นเตรียมการ
๑.๑ สำรวจ พนักงานเทศบาลและแกนนำชุมชน ๑.๒ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล ๑.๓ ประชุมคณะดำเนินงานเพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๑.๔ จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ ๑.๕ ประสานงานกับคณะดำเนินงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินการและประชาสัมพันธ์โครงการกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๑.6 ประชาสัมพันธ์โครงการโดยใช้เสียงตามสาย เพื่อแจ้งรายละเอียดโครงการ กระตุ้นเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ
๑.๙ จัดเตรียมป้ายโครงการ เอกสาร บอร์ดให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารตามโซนสี 3 สี
๒. ขั้นดำเนินการ
๒.๑ ประชุม ชี้แจง และประชาสัมพันธ์โครงการแก่ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และพนักงานเทศบาล ๒.๒ ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ดังนี้ ๒.๒.๑ แนะนำการบริโภคอาหารตามโซนสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง โดยสีเขียว หมายถึง บริโภคให้มาก สีเหลือง หมายถึง บริโภคได้ปานกลาง และสีแดง หมายถึง บริโภคแต่น้อย
๒.๒.๒ แนะนำการปฏิบัติตัวตามหลัก ๓ อ. บอกลา ๒ ส. โดย ๓ อ. คือ อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย และบอกลา ๒ ส.  คือ สูบบุหรี่ สุรา   ๒.๒.๓ ลดหวาน มัน เค็ม ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
      ๒.๓ การออกกำลังกาย สัปดาห์ละ ๓ วัน วันละ ๓๐ นาที       ๒.๔ ตรวจสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังการจัดโครงการ ดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย ค่าความดัน ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และวัดรอบเอว จำนวน ๒ ครั้ง คือ ก่อน และหลังดำเนินกิจกรรม ๓. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ
๓.๑ ประเมินผลการดำเนินการ ๓.๒ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๓.๓ นำเสนอผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้       ๒.พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
  ๓.พนักงานเทศบาล และแกนนำชุมชน มีการออกกำลังกาย และเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นแกนนำถ่ายทอดความรู้ด้านการออกกำลังกาย ให้คนในชุมชนหันมาออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 12:42 น.