กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต
รหัสโครงการ 60-L3321-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 216,485.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชุมชนตำบลปันแต
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.ปันแต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,100.051place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 เม.ย. 2560 30 ก.ย. 2560 216,485.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 216,485.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ประมาณ 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจำนวนผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21 และร้อยละ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบปีและสิบสี่ปีข้างหน้า ตามลำดับ และสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (ข้อมูลจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม2558)ซึ่งจากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน6,394,022 คน ในปี 2558โดยกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน )คือผู้สูงอายุติดสังคมหรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตนเองได้ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้และอีกร้อยละ 21 ( 1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่า กลุ่มติดบ้านติดเตียงและต้องการการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557(3) เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนดเป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณและองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแตเรียบร้อยแล้วเมื่อปีงบประมาณ2559 องค์การบริหารส่วนตำบลปันแตและศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแต ได้เล็งเห็นความสำคัญและมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องระยะยาวจึงได้จัดโครงการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนตำบลปันแตขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชน

ผู้สูงอายุและคนพิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลและชะลอเกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด

ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลมีคุภาพชีวิตที่ดีขึ้น

3 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแลสุขภาพ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สามารถดูแลสุขภาพตนเองและดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4 เพื่อให้ผู้อายุมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้อายุมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประชุมชี้แจงและประสานภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง 3 วางแผนการดำเนินงาน 4 จัดกิจกรรมและดำเนินการตามแผน 5ติดตามและประเมินผล/สรุปโครงการและรายงานผล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2560 16:02 น.