กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุบ้านตะเหลี่ยง ปี 2562
รหัสโครงการ 62 – L2481 – 1 - 06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี พงษ์พานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 283 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุเป็นบุคคล ที่สถาบันครอบครัวไทยให้การเคารพยกย่องมากที่สุด เพราะเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ในชีวิตสูง  เป็นผู้ถ่ายทอดความสามารถ ประเพณี วัฒนธรรมและค้ำจุนจิตใจ  ให้แก่บุคคลในครอบครัว ชุมชน และสังคม ได้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยจะสูญเสียความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันความสามารถเสื่อมถอย ต้องอาศัยญาติและครอบครัวคอยดูแล ทำให้เป็นภาระ ผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ เกิดจากกระบวนการการสูงวัยและโรคต่าง ๆ มากมายทำให้เกิดปัญหา ทั้งด้านสุขภาพ กาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ สังคม ปัญหาเกี่ยวกับครอบคัว และปัญหา ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง เป็นกลุ่มประชากรที่ใช้บริการสุขภาพสูงกว่าวัยอื่นๆ และจะต้องใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในด้านการรักษาพยาบาลสูง   การส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) เป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญ ที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง จึงเห็นความสำคัญและความจำเป็นในดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุบ้านตะเหลี่ยง ขึ้น เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ และ เพื่อป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้สูงอายุและความพิการที่จะตามมาและเสริมสร้างพลังกลุ่มต่างๆ องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนตั้งแต่ตัวของผู้ป่วย ผู้ดูแล กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มจิตอาสาอื่นๆให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางในการดูแล การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชนการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาวเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป         จากการสำรวจผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านในเขตรพ.สต.บ้านตะเหลี่ยง พบว่า มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยพบการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน  ๑๘๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๑โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๐ โรคเบาหวาน จำนวน ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๐๓ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๖๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๖๗ การได้รับความรู้  เรื่องการดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจะสามารถป้องกันและแก้ไขภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกปัญหาสุขภาพร่างกาย รวมทั้งปัญหาสุขภาพจิต ช่วยให้อายุยืนยาวขึ้น และมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบรูณ์แข็งแรง รพ.สต.บ้านตะเหลี่ยง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้สมาชิกในชมรมผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตใจที่ดี ไม่ให้เป็นภาระแก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมต่อไป จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองตามรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรม และมีกิจกรรมต่อเนื่องทุกเดือน ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติตนตามหลัก ๖ อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และอบายมุข)

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ด้วยเครื่องมือ ADL

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการพบปะ สังสรรค์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพ

ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยได้รับการเยี่ยมจากคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 283 14,150.00 0 0.00
15 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 283 คน มื้อละ ๒๕ บาท คนละ 2 ครั้ง 283 14,150.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินโครงการ       1.แต่งตั้งคณะทำงานประสานงานโครงการ
      2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบประมาณสนับสนุนโครงการ       3.สำรวจกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ และ จำแนกประเภท โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการตามโครงการ       4.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งรายชื่อกลุ่มเป้าหมายให้ อสม.ในเขตรับผิดชอบทราบ เพื่อติดตามให้เข้าร่วมโครงการ       5.กลุ่มเป้าหมายมีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม       6.จัดกิจกรรมสันทนาการ มีการพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหลัก 6 อ. 3 เดือน/ครั้ง       7. กิจกรรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ หลัก ๖ อ. แก่กลุ่มเป้าหมาย โดย จนท.รพ.สต.บ้านตะเหลี่ยง ทุกเดือน       8.ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจฟัน ประเมินภาวะสุขภาพกายและจิตโดยบุคลากรสาธารณสุข อสม.และกลุ่มจิตอาสาดูแลผู้สูงอายุ       9.คัดกรอง ADL ในผู้สูงอายุ
      10.เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพอย่างน้อยคนละ ๑ ครั้ง       11.สรุปและประเมินผลการดำเนินงานทุกเดือน ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล       12.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ       13. สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค
      14.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีชมรมนำร่องที่มีการดูแลผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้สูงอายุและครอบครัว 2.มีการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้สูงอายุ และครอบครัว 3.ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมและเพิ่มคุณค่าของผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในการดูแลตนเองร่วมกับครอบครัว  มากยิ่งขึ้น 4.มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง มีการเชื่อมประสานกับเครือข่ายและหน่วยงานราชการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 21:20 น.