กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ปี 2562
รหัสโครงการ 62–L2481–1 -07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี พงษ์พานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 332 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด รับประทานผัก ผลไม้น้อย ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป การใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ และการใช้สารเสพติดเป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิต ยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้มีภาวะอ้วน ผู้มีคลอเรสเตอรอลสูง เมื่อมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป จึงจะเห็นผลของการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว       จากสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านตะเหลี่ยง กลุ่มเป้าหมายประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ผลจากการคัดกรองเมื่อ 1 ตุลาคม 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 พบประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (BP=120-139 mm/Hg BP=80-89 mm/Hg) จำนวน 321 คน คิดเป็นร้อยละ 26.27 และพบจำนวนประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง อยู่ในสงสัยเป็นโรค (BP>=140 Hg BP>=90 mm/Hg) จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 2.62 ส่วนโรคเบาหวาน ประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มแฝง/สงสัย จำนวน 245 คน คิดเป็นร้อยละ 20.05 และประชากรที่มีภาวะเบาหวานจากการคัดกรอง (ไม่รวมผู้ป่วย) อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.47       ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง จึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนารูปแบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและอ้วนลงพุงและพัฒนาภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้สามารถเผยแพร่ในชุมชนต่อไป จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรค ประจำปี 2562 ขึ้น โดย ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยในผู้ที่มีภาวะเสี่ยง และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยในผู้ที่มีมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

-ผู้ที่เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนมีภาวะเสี่ยงลดลง อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ -ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน (Pre-DM) ป่วยเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ ๕ (Pre-DM ปี 61 ทั้งหมด 272 คน ไม่เกินร้อยละ ๕ เท่ากับไม่เกิน ๑5 คน)

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันการเกิดโรค

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 664 24,900.00 0 0.00
15 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยงจำนวน 1 ครั้ง 332 8,300.00 -
15 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง 2 ครั้ง (จำนวน 332 คน) 332 16,600.00 -

1.การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง
ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินโครงการ       1.เจ้าหน้าสาธารณสุขสำรวจข้อมูลกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง
      2.แต่งตั้งคณะทำงานประสานงานโครงการ
      3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบประมาณสนับสนุนโครงการ ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินการตามโครงการ       4.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแจ้งรายชื่อกลุ่มเสี่ยงให้ อสม.ในเขตรับผิดชอบทราบ เพื่อติดตามให้เข้าร่วมโครงการ       5.กลุ่มเป้าหมายมีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม       6.ดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยง 2 ครั้ง       7.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนแก่กลุ่มเสี่ยงจำนวน 1 ครั้ง
      8.จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยง 2 ครั้ง (จำนวน 332 คน)       9..มีการติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและตรวจร่างกายกลุ่มเสี่ยง ทุก ๓ เดือน (จำนวน 332 คน)       10.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ความรู้พร้อมสาธิตอาหารสำหรับกลุ่มเสี่ยงระหว่างกลุ่มเสี่ยง 1 ครั้ง (จำนวน 332 คน)       11.ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล       12.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ       13. สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรค
      14.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ       2.ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น       3.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน       4.เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน เช่น รอกกะลามหาสนุก ช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย ,การการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ปิงปอง 7 สี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 21:35 น.