กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการท้องเมื่อพร้อม
รหัสโครงการ 63-L3069-10(2)-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.5 บ้านปาแดลางา
วันที่อนุมัติ 9 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ ๕ปาแดลางา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เยาวชนเป็นวัยที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมมักก่อเกิดปัญหาตามมามากมายทั้งต่อตัวเอง และครอบครัว มีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการ ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๘ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือ ท้องวัยทีน คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ ๑๐ – ๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญ ของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกว่าร้อยละ ๒๐ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลงต่ำสุดพบเพียง ๑๒ ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยทีน ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและความอยากรู้อยากลองของวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยากมากปัจจุบันตำบลปุโละปุโยยังพบว่าในปี 2562 มีจำนวนเด็กที่คลอดจากแม่วัยทีน อายุ 10 –19 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 ของการ

คลอดทั้งหมดและตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์หรือท้องก่อนวัยอันควรอยู่ที่ร้อยละ 7 ซึ่งปัญหานี้ส่งผลต่อการทำงานของอนามัยแม่และเด็ก
ทำให้อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ไม่ผ่านเกณฑ์ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (HIV) การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง เป็นต้น ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ ๕ ปาแดลางาตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการการท้องเมื่อพร้อม แก่เด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

– เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศร้อยละ ๑๐๐

1.00
2 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อม

– เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมได้ร้อยละ ๖๐

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 10,000.00 0 0.00
28 ต.ค. 62 - 31 มี.ค. 63 อบรมให้ความรู้ในการอบรมความพร้อมของการตั้งครรภ์ แก่เด็กและเยาวชน 50 10,000.00 -

๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่และสมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้ทราบถึงโครงการ ปรึกษาและวางรูปแบบกิจกรรม ๒. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ๓. ดำเนินงานตามโครงการ - รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ (มีการประชาสัมพันธ์ชักชวน) - จัดเตรียมเอกสารในการอบรม - ติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลปุโละปุโย เพื่อสนับสนุนวิทยากรในการอบรมความพร้อมของการตั้งครรภ์และติดต่อประสานงานกับผู้มีความรู้ทางด้านศาสนาเพื่อเป็นวิทยากรในการอบรมการตั้งครรภ์ในวัยที่พร้อม - จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยที่เหมาะสม ๔. การประเมินผลจากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ๒. เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2562 13:49 น.