กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำมีคุณภาพ เยาวชนปลอดบุหรี่ 2562
รหัสโครงการ 62-L2418-1-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมุขภาพตำบลเกาะสะท้อน
วันที่อนุมัติ 15 พฤษภาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอร่าม อามีเราะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ร้านขายของชำในหมู่บ้านถือได้ว่าเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วน ใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพทั้งสิ้นและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียร์รอย เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ร้านชำยังคงจำหน่ายบุหรี่แก่กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ซึ่งตามกฎหมาย พรบ.บุหรี่ ๒๕๖๐มาตรา ๒๖ ห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ทำให้ข้อมูลผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่มีการสูบบุหรี่ ตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี ตำบลเกาะสะท้อนมีพื้นที่กว้าง และติดกับชายแดนมาเลเซียทำให้มีการค้าขายและพัฒนาจน เกิดร้านชำเป็นจำนวนมาก จากการดำเนินงานในปี ๒๕๖๑ยังพบว่าในพื้นที่มีการจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว การโฆษณาชวนเชื่อ การับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการบริโภคสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อประชาชนในพื้นที่และจากการประเมินร้านชำในปี ๒๕๖๑ พบว่าร้านชำยังมีการขายยาอันตราย ผู้ประกอบการบางรายไม่ทราบฉลากวันหมดอายุของอาหารทำให้ยังพบอาหารที่หมดอายุขายในร้านผู้ประกอบการยังมีจำหน่ายบุหรี่แก่บุคลลที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ ปีและจากการจัดโครงการในปี ๒๕๖๑ ผู้ประกอบการบางรายไม่เข้าร่วมโครงการด้วยตนเอง ส่งให้ญาติหรือลูกจ้างมาแทน ทำให้การรับรู้เพื่อไปปรับปรุงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่วางไว้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงเนื่องจากประชาชนเป็นผู้บริโภค จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดี ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคอย่างยั่งยืน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อนได้ทำโครงการร้านชำมีคุณภาพ เยาวชน ปลอดบุหรี่ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและติดตาม การจำหน่ายอาหารที่อันตราย และการจำหน่ายบุหรี่แก่เยาวชนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อ อาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน

กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องการเลือกซื้อสินค้าที่มีมาตรฐาน ร้อยละ ๘0

0.00
2 เพื่อยกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้านผ่านเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ

ร้านชำ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่า ร้อยละ ๙๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 16,000.00 0 0.00
15 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน 100 10,000.00 -
15 พ.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ 0 6,000.00 -

๑.สำรวจข้อมูลร้านชำ ผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ และจัดทำทะเบียนข้อมูลพื้นฐานของร้านชำ ๒.อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในเรื่องการเลือกชื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ และข้อกฎหมายห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในพื้นที่
๓.สาธิตและฝึกปฏิบัติการทดสอบสารอันตรายในเครื่องสำอาง สารปนเปื้อนในอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ การอ่านฉลากผลิตภัณฑ์สินค้า
๔.ตรวจประเมินผู้ประกอบการและร้านต่างๆในพื้นที่ทุกแห่ง ๕.จัดทำป้ายสื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ให้ความรู้อย่างทั่วถึง ในสถานศึกษา ชุมชน ร้านขายของชำตลาดสด
๖.เฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ ครัวเรือน ชุมชน ร้านขายของชำตลาดสด อย่างต่อเนื่อง ๗. รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และมีทักษะในการเลือกสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ๒. ผู้บริโภคมีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านขายของชำในพื้นที่ ๓. ร้านขายของชำในหมู่บ้านจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2562 11:50 น.