กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก
รหัสโครงการ 63-L7250-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง
วันที่อนุมัติ 18 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 587,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ (นางวสุธิดา นนทพันธ์) พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครสงขลา มีภารกิจหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีและเด็ก ตามความหมายในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 มาตรา 50 (7) มาตรา 53 (1) มาตรา 56 (1) เทศบาลมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการและพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยาและองค์การบริหาร ส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส เด็กคือทรัพยากรอันทรงคุณค่ามีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการดูแลจากครอบครัวและสังคมตลอดจนได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเหมาะสมทุกด้านเพื่อการเจริญเติมโตอย่างมีคุณภาพ เด็กที่มีคุณภาพจะต้องมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ทุกด้านจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งต้องเริ่มดูแลตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดและระยะเด็กปฐมวัย แต่ในปัจจุบันแม่และเด็ก ในเขตเทศบาลนครสงขลาประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพในหลายประเด็น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของแม่และเด็ก ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ การขาดธาตุไอโอดีน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ภาวะโรคต่างๆ และการอบรมเลี้ยงดู เทศบาลนครสงขลา ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานปี พ.ศ. 2559 – 2561 เกิดผลสัมฤทธิ์ ทำให้สถานการณ์อนามัยแม่และเด็กมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ 1. อัตราฝากครรภ์ครั้งแรก ก่อนอายุ 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 43.73, 56.75, 77.54, ตามลำดับ (เกณฑ์ › ร้อยละ 60) 2. อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (เจาะเลือดครั้งแรก) คิดเป็นร้อยละ 9, 8.15, 7.2 ตามลำดับ (เกณฑ์ ‹ ร้อยละ 20)        3. หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20ปี คิดเป็นร้อยละ 10, 12.8, 11 ตามลำดับ (เกณฑ์ ‹ ร้อยละ 10) 4. อัตราฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 32.94, 51.52, 72.36 ตามลำดับ (เกณฑ์ › ร้อยละ 60) 5. ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม คิดเป็นร้อยละ 8.04, 8.59, 9.16 ตามลำดับ (เกณฑ์ ‹ ร้อยละ 7) จากผลการดำเนินโครงการ จะเห็นว่าตัวชี้วัดสุขภาพของมารดาและทารกมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการสร้างเสริมโภชนาการที่ดีและการดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชนร่วมกับการพัฒนาคุณภาพบริการในทุกด้าน งานศูนย์บริการสาธารณสุขเตาหลวง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการมารดาและทารกเชิงรุก ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาพของมารดาและทารก ลดอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอด มารดาและทารกมีสุขภาพแข็งแรง มีภาวะโภชนาการที่ดี ได้รับบริการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ครบวงจรตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด อันส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสมวัย และเติบโตไปเป็นประชาการที่มีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดโดยให้การดูแลแบบบูรณาการตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
    1. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดในขณะใกล้คลอด (Hct 2) ไม่เกินร้อยละ 10
0.00
2 2. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการที่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด
  1. ทารกแรกเกิดน้ำหนังน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7
0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถดูแลตนเองและเลี้ยงดูบุตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  1. เด็กแรกเกิด – ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
0.00
4 4. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  1. เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี มีพัฒนาการสมวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
    1. นำเสนอข้อมูลต่อคณะทำงาน เพื่อพิจารณาจัดทำโครงการต่อเนื่อง
    2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุน สปสช. เทศบาลนครสงขลา
    3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
    4. ดำเนินกิจกรรมตามโตรงการดังนี้
      5.1 กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการมารดาและทารก (จ่ายนม-ไข่) เพื่อส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสม สร้างแรงจูงใจให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์เร็วและเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดย 5.1.1 รับลงทะเบียนหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ทุกวันที่ 20 – สิ้นเดือน ของทุกเดือน ตรวจสอบคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้เข้าร่วมโครงการสำหรับบันทึกสุขภาพและการเยี่ยมบ้าน พร้อมทั้งระบุชื่อ อสม. แม่คนที่ 2 ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ทราบ เพื่อความสะดวกและแจ้งนโยบายการติดตามดูแลสุขภาพเชิงรุก
      5.1.2 รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วม จัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ ทะเบียนหญิงครรภ์เสี่ยงสูงและทะเบียนรับวัสดุนม-ไข่
      5.1.3 ส่งต่อรายชื่อหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ให้ศูนย์บริการสาธารณสุข และ อสม. ในพื้นที่ ทราบ 5.1.4 จ่ายนม-ไข่ เดือนละ 1 ครั้ง ตามวันที่และเวลาที่กำหนดโดย
    • โดยกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และกลุ่มมารดาหลังคลอด จ่ายนมพร้อมดื่มสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 30 กล่อง ต่อเดือน และจ่ายไข่ไก่ เบอร์ 2 จำนวน 30 ฟองต่อเดือน
      5.2 กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชน (ให้บริการเชิงรุกเยี่ยมบ้านดูแลสุขภาพแม่และเด็ก) 5.2.1 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ปกติ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทางสุขภาพเล็กน้อย ติดตามเยี่ยมบ้าน โดย อสม. แม่คนที่ 2 เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำ พร้อมติดตามสำรวจข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงได้แก่ อยู่ในพื้นที่หรือไม่ หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ได้บริโภคนม-ไข่ ที่จ่ายไปหรือไม่ พร้อมติดตามโภชนาการ พัฒนาการและการรับวัคซีนตามเกณฑ์ และรายงานผลการเยี่ยมบ้านตามขั้นตอน 5.2.2 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไทรอยด์ หอบหืด ติดสารเสพติด ตั้งครรภ์อายุน้อย ฯ ติดตามเยี่ยมบ้านโดยพยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน 5.2.3 กลุ่มมารดาและทารกหลังคลอด เยี่ยมโดย อสม. และพยาบาลในการให้คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตรวจหลังคลอด การวางแผนครอบครัว ฯ 5.2.4 กลุ่มเด็กแรกเกิด – 1 ปี ติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. เพื่อเฝ้าระวังโภชนาการ เฝ้าระวังและติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน การรับวัคซีน การส่งเสริมพัฒนาการ ส่งเสริมการอ่าน กานเล่านิทาน และติดตามให้พ่อแม่พาเด็กตรวจคัดกรองพัฒนาการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5.3 กิจกรรมอบรมความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก (โรงเรียนพ่อแม่) แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี ผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมโครงการรายใหม่ทุกราย (หญิงตั้งครรภ์และสามีต้องเข้าร่วมอบรมความรู้โรงเรียนพ่อแม่ อย่างน้อย 1 ครั้ง) 5.4 กิจกรรมประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักให้ประชาชนได้รับทราบถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก 5.4.1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อสร้างกระแสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคม 5.4.2 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ โดยจัดทำป้ายไวนิล ติดตั้งที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 7 แห่ง เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอย่างทั่งถึง 5.5 สรุปผลการดำเนินโครงการและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอด ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการสามวัยทุกด้าน
    1. หญิงตั้งครรภ์ มารดา/ทารกหลังคลอดได้รับการติดตามดูแลสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ  อสม. แม่คนที่ 2
    2. หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และครอบครัวมีความรู้ มีความตระหนักในการดูแลตนเองและบุตร การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2562 16:08 น.