กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 2563-L3351-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 10 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 129,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2629 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 297.18 ต่อแสนประชากร
3.00
2 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคไข้เลือดออก
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เป็นโรคที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงพบว่า ( มกราคม – ธันวาคม2562)จังหวัดพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ต้นๆของประเทศและอำเภอเมืองพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ 2ของจังหวัดพัทลุงมีจำนวนผู้ป่วย 593รายโดยพบผู้ป่วยมากที่ตำบลพญาขันชัยบุรีท่ามิหรำควนมะพร้าวส่วนตำบลโคกชะงายมีผู้ป่วยจำนวน 11 รายคิดเป็นอัตราป่วย 203 /100,000 ประชากร สำหรับในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี 2562 จำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 190.40 ต่อแสนประชากร ปี 2561 มีผู้ป่วย 4 รายคิดเป็นอัตราป่วย 152.32 ต่อแสนประชากรและในปี 2562 มีผู้ป่วย 3 รายคิดเป็น118.81 ต่อ แสนประชากร ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต (ข้อมูลระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง) ขณะที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงกำหนดเป้าหมายอัตราป่วย 80ต่อแสนประชากรจากการศึกษาการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก๓ปีย้อนหลังคาดว่าในปี 2563 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้นมาอีกดังนั้นในการควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หยุดการระบาดได้นั้นต้องรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักตื่นตัวต้องตรวจสอบค้นหาแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณบ้านของตนเองต้องช่วยกันรับผิดชอบตัวเองครอบครัวและชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนหนาแน่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมักพบภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน และเป็นภาชนะที่มีน้ำขังได้ เช่น อ่างน้ำ โอ่งน้ำ แจกัน ยางรถยนต์จานรองขาตู้กับข้าว ฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป องค์กรท้องถิ่นผู้นำชุมชนและประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือป้องกันไม่ให้ยุงกัดเพราะเนื่องจากยุงลายสวนสามารถนำโรคไข้เลือดออกได้ด้วยซึ่งสามารถป้องกันได้โดยทายากันยุงหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกชะงายจึงรวมพลังกันรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้รวดเร็วที่สุด 2562

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการจัดการลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกหลังคาเรือน

ปนะชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ทุกครัวเรือน

4.00 100.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75/แสนประชากร

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 75/แสนประชากร

4.00 12.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2720 129,650.00 1 107,550.00
17 ม.ค. 63 กิจกรรมเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2,700 129,650.00 107,550.00
10 ก.พ. 63 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว 20 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  • ประชาชนส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนตลอดถึงประชาชนสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้
  • ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน
  • ความชุกของลูกน้ำยุงลาย HI และ CI น้อยกว่า 10
  • ทีม SRRT ตำบลทุกคนมีความพร้อมในการควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2562 00:00 น.