กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ประจำปี 2562
รหัสโครงการ L2485
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มิถุนายน 2562 - 22 สิงหาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 6,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิต กล้าหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ นายชาติชาย แก้วเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก จากรายงานผลการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ปี 2561 พบว่า มีอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ เพิ่มขึ้น จากระดับการศึกษา อาชีพและวิถีชีวิตของชุมชนส่วนใหญ่ประชาชนยังให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง น้อย ทำแต่งาน รับประทานอาหารที่หาได้ง่ายในชุมชน อาหารแปรรูปที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้หลายวันโดยไม่เน่าเสีย และมีเกือบทุกหลังคาเรือน เช่น บูดู ปลาเค็ม และเนื้อหมัก ซึ่งจะมีรสชาติที่เค็มมาก และยังนิยมบริโภคอาหารที่มีรสหวาน รสมัน และพฤติกรรมการบริโภคน้ำชา กาแฟ เป็นกิจวัตรประจำวัน ประกอบกับการขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้องตามรูปแบบ และยังมีพฤติกรรมที่ไม่นิยมรับประทานผัก จึงส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีภาวะป่วยด้วยโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของตนเอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้นในแต่ละปี แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะให้ข้อมูล ให้สุขศึกษาที่เกี่ยวกับโรคเหล่านี้มาทุกๆปี แต่ก็ยังมีประชาชนที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นในทุกๆปีเช่นเดียวกัน และยังมี กลุ่มผู้ป่วยก็กลายเป็นกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน มีความพิการทางด้านร่างกาย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และได้คิดหาแนวทางแก้ไขและป้องกันภาวะความรุนแรงของโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมตนเองจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน ปี ๒๕62 นี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง และลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ซึ่งอาจก่อให้เกิดความพิการตามมาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

 

0.00
2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 6,350.00 1 6,350.00
20 มิ.ย. 62 - 22 ส.ค. 62 กิจกรรมตรวจสุขภาพ ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 50 6,350.00 6,350.00
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ
  2. ตรวจสุขภาพ เพื่อติดตามการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  3. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้     3.1 ประเมิน ความเสี่ยงต่อ ภาวะ แทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง เป็นรายบุคคล         แยกประเภท ความเสี่ยงต่อ ภาวะ แทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง         กลุ่ม 1 เสี่ยงน้อย
            กลุ่ม 2 เสี่ยงปานกลาง
            กลุ่ม 3 เสี่ยงมาก
    จัดทำกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้
        3.2 ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  ในทุกๆ กลุ่ม เป้าหมาย เหมาะสม เช่น 3 อ. 2 ส. และการเฝ้าระวังด้วยตนเองโดยใช้ปิงปอง 7 สี นวัตกรรมอื่นๆที่มีในชุมชน   3.3 สาธิตและฝึกปฏิบัติตามหลัก ๓ อ.๒ ส. และให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานบริการและในชุมชนเกี่ยวกับบทบาทในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนโดยอสม.และเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง   3.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยบุคคลต้นแบบที่สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและสามารถควบคุมความดัน และเบาหวานได้     3.5 กลุ่มเสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงมาก แนะนำทักษะและติดตามใกล้ชิดเป็นระยะๆ และส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
  4. ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง เพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2562 13:56 น.