กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอาหารและยา ในชุมชนตำบลพร่อน ประจำปี 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอาหารและยา ในชุมชนตำบลพร่อน ประจำปี 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
รหัสโครงการ L2485
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 กรกฎาคม 2562 - 24 กรกฎาคม 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 7,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิต กล้าหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ นายชาติชาย แก้วเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย
ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนการจัดการอาหารที่ดี นอกจากจะคำนึงถึงรสชาติแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร เจ้าของร้านขายของชำ รวมถึงอสม. และผู้นำนักเรียน อย.น้อย ต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารทุกขั้นตอน และตระหนักถึงความสำคัญในการประกอบอาหารที่สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้าน ยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภค อาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว ดังนั้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอาหารและยาในชุมชนตำบลพร่อน ปี 2562 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในชุมชน

ร้านค้าและร้านจำหน่ายอาหารภายในเขตพื้นที่มีการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของอสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

ร้านชำ ร้านค้า ในชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพปลอดภัยได้มาตรฐานมาจำหน่ายคลอบคลุมร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 7,600.00 1 7,600.00
24 ก.ค. 62 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารแผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านยา อสม. และผู้นำชุมชน 50 7,600.00 7,600.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง
  2. ดำเนินการสำรวจประเมินแผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านชำ และร้านขายของสด
  3. อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขแก่ภาคีเครือข่าย ได้แก่ อสม., กลุ่ม
      เจ้าของร้าน และกลุ่มภาคีเครือข่าย
  4. ตรวจแนะนำและยกระดับมาตรฐานในร้านจำหน่ายอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารซ้ำเพื่อประเมิน   ความก้าวหน้า
  5. ให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยผ่านสื่อต่างๆเช่น หอกระจายข่าว นิทรรศการ ฯลฯ
  6. สรุปประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย และประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2562 16:30 น.