โครงการรักลูกน้อยด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต.สุไหงปาดี ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการรักลูกน้อยด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต.สุไหงปาดี ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2543-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 3 กุมภาพันธ์ 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 มิถุนายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 กรกฎาคม 2563 |
งบประมาณ | 10,920.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวขวัญฤทัย เอนกรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวซากีนา ดอเล๊าะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์การระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน จังหวัดนราธิวาสมีอัตราการป่วยโรคหัดจำนวน ๕๕ รายคอตีบ ๕ ราย ไอกรน ๔ ราย แต่ไม่มีการเสียชีวิต ซึ่งในพื้นที่สุไหงปาดีพบว่ามีเด็กป่วยด้วยโรคหัด ๕ ราย ไอกรน ๑ รายซึ่งเกิดจากการการปฏิเสธการรับวัคซีน รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์อายุ ซึ่งแสดงถึงการเห็นความสำคัญของการรับวัคซีนของบุตรฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย ทั้งนี้โดยความเหมาะสมกับสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรค การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การดำเนินงานในกิจกรรมงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีประชากรเด็ก ๐-๕ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ จำนวน ๒๕๐ คน รับวัคซีนตามเกณฑ์ จำนวน ๒๐๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๘๐ ซึ่งยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนให้ได้ร้อยละ ๙๐ ซึ่งเป็นการดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเท่าที่ควรทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย ฉะนั้นความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายทำให้ชุมชนห่างไกลจากโรคติดต่อต่างๆได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดีได้จัดทำโครงการรักลูกน้อยด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ต.สุไหงปาดี ประจำปี ๒๕๖๓ ขึ้นจากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตำบลบ้านใหม่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุไหงปาดีตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ในรอบปีที่ผ่านมาปรากฏว่า กลุ่มเด็ก ๐-๕ ปีที่รับวัคซีนโดยแบ่งเป็นเด็กอายุ ๑ ปีทั้งหมด ๖๕ คน ได้รับวัคซีนครบทั้งหมด ๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๙๒ อายุ ๒ ปีทั้งหมด ๖๒ คน ได้รับวัคซีนครบทั้งหมด ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๔๘อายุ ๓ ปีทั้งหมด ๕๕ คน ได้รับวัคซีนครบทั้งหมด ๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๓๖อายุ ๕ ปีทั้งหมด๖๘ คน ได้รับวัคซีนครบทั้งหมด ๕๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๘๒รวมเด็กอายุ ๐-๕ ปีทั้งหมด ๒๕๐ คน ได้รับวัคซีนครบทั้งหมด ๒๐๒ คน คิดเป็นร้อยละ๘๐.๘๐ ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ๑.เด็กอายุ ๐-๕ ปีไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ร้อยละ ๙๐ |
50.00 | 15.00 |
2 | ๒. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมคุ้มกันโรค ๒.ผู้ปกครองนำบุตรอายุ ๐-๕ ปีมารับวัคซีนตามนัดไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ |
50.00 | 20.00 |
๑.ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปีเกี่ยวโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิดผลข้างเคียงของวัคซีน การระบาดของโรค งบประมาณ ๑. ค่าอาหารว่างในโครงการ ๖๐ คน x๒๕ บาท x ๒มื้อ =๓,๐๐๐ บาท๒.ค่าตอบแทนวิทยากร๒ คนx ๒ ชั่วโมงx ๖๐๐ =๒,๔๐๐ บาท ๓.ค่าป้ายไวนิลโครงการ ๗๒๐ บาท ๔.ค่าอาหารกลางวัน ๖๐ คน x๑ มื้อx ๕๐ บาท =๓,๐๐๐ บาท ๕.ค่าวัสดุในการจัดประชุมสมุด ๖๐ คนx ๕ บาท= ๓๐๐ บาท ปากกา ๖๐คน x ๕ บาท= ๓๐๐บาท แฟ้ม ๖๐คนx ๒๐ บาท =๑,๒๐๐บาท ๒.ติดตามการรับวัคซีนของเด็กกลุ่มเป้าหมาย
ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการรับวัคซีนของบุตรมากขึ้นและตระหนักถึงการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนโดยการนำบุตรมารับวัคซีนตามนัดเพิ่มมากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2562 00:00 น.