กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มัสยิดดารุลอีบาดะห์
วันที่อนุมัติ 10 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยะโกบ อุเส็น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตันหยงโป อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589,99.936place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินชีวิตที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี ทำให้เกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรม มีอุบัติการณ์สูงขึ้นอย่างมาก เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรค ลงพุง ซึ่งเกิดจากไขมันสะสม โดยเฉพาะรอบเอวของผู้ชาย 90 ซม.(36”)หรือมากว่า และรอบเอวผู้หญิง 80 ซม.(32”)หรือมากกว่า จากการสำรวจสุขภาพประชากรไทย ปี 2547 พบว่าคนไทยอ้วนลงพุงเพิ่มร้อยละ30 และประชากรอายุมากกว่า 30 ปี9.3 ล้านคน มีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์กำหนด โดยพบผู้หญิงมีอัตราเส้นรอบเอวสูงมากกว่าผู้ชาย ร้อยละ 55 และร้อยละ 22 ตามลับ ที่ผ่านมาก็มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรณรงค์เรื่อง “พฤติกรรมสุขภาพ” คือกรมอนามัย โดยกองโภชนาการ
ได้จัดทำยุทธศาสตร์คนไทยไร้พุงเพื่อนำพาคนไทยไปสู่การเป็นคนมีสุขภาพกายที่ดี เมื่อสุขภาพกายดีย่อมก่อให้เกิดสุขภาพใจดีอีกด้วย เข้าตำราความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ สองปีกว่ามาแล้วที่กรมอนามัย ได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ในการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ“ภาคีร่วมใจคนไทยไร้พุง” ซึ่งประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันเสริมสร้างศักยภาพขีดความสามารถขยายไปสู่องค์กรอื่นๆ รวมทั้งภาคีเครือข่ายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคด้านอาหารโภชนาการ และการดำรงชีวิตที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย ทั้งภายนอกและภายใน โดยใช้แรงงานที่เหมาะสมของคนในชุมชนอันจะนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้ดำรงชีวิตแบบไม่มีโรคที่ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐนั่นเอง มัสยิดดารุลอีบาดะห์ หมู่3 บ้านบากันเคยและแกนนำชุมชนในตำบลตันหยงโปก็เห็นความสำคัญในเรื่องราวดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพดี ชีวีมีสุข” ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมปะชาชนในพื้นที่ให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการดำรงชีวิตที่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและภาวะอ้วนลงพุง และร่วมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

0.00
2 2.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุตระหนักพร้อมทั้งป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรม

 

0.00
3 3.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และแก้ปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง

 

0.00
4 4.เพื่อสร้างต้นแบบชุมชนจัดการสุขภาพภายใต้ชมรมสร้างสุขภาพ

 

0.00
5 5.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุตระหนักพร้อมทั้งป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และแก้ปัญหาสุขภาพด้วยตนเอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : 4.เพื่อสร้างต้นแบบชุมชนจัดการสุขภาพภายใต้ชมรมสร้างสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : 5.เพื่อให้เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ประชุมคณะทำงานมัสยิดดารุลอีบาดะห์ หมู่3 บ้านบากันเคยและแกนนำชุมชนในตำบลตันหยงโป
  2. เขียนโครงการ/นำเสนอโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
  3. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมาย
  4. ดำเนินงานตามโครงการ อบรมให้ความรู้ด้วนการดูแลสุขภาพอนามัย/การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต/โภชนาการต่างๆ/ความรู้ในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุ/การออกกำลังกายแก่เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุ
  5. ประเมินผล/สรุปการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี
  2. เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุ รู้จักป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมได้
  3. เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  4. สร้างขวัญและกำลังใจให้ เยาวชน ประชาชน และผู้สูงอายุ มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า
  5. สร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้คนรุ่นหลังได้มีทัศนคติที่ดีและเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุและช่วยกันดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2562 13:13 น.