กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ชุมชนบ้านปิเหล็งสุขใจ
รหัสโครงการ 63-L2480-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 14 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดานิช ดิงปาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาการคุณภาพชีวิตเด็ก เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบทุกชนิด ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 5หมู่ และการส่งเสริมพัฒนาการตามที่ถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกบกับการพัฒนาการด้านต่างๆในวันนี้มีผลต่อการกำหนดลักษณะ พฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กก่อนวัยเรียนจะต้องมีโภชนาการที่ไม่มีภาวะทุพโภชนาการและได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ เป็นต้น จากการเฝ้าระวังความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุ0-5ปีของหมู่บ้านในเขตรพ.สต.บ้านปิเหล็งพบว่าได้เพียงร้อยละ68 ซึ่งอัตราความครอบคลุมยังต่ำกว่าตัวชี้วัดที่กระทรวงวางเป้าหมายไว้ คือ ร้อยละ95 และกลุ่มภาวะโภชนาการที่มีสูงดีสมส่วนได้เพียงร้อยละ51 ซึ่งก็ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวง กำหนดไว้เช่นกันคือ ร้อยละ70 ดังนั้นปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ดังนั้นปัญหาความครอบคุลมการได้รับวัคซีน ความสมส่วนของโภชนาการตลอดจนพัฒนาการในเด็กอายุ0-5ปีนั้นสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นได้ผลอย่างยั่งยืนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม ป้องกันและดูแลสุขภาพ ในกลุ่มเด็กอายุ 0-72เดือน(0-5ปี) เพื่อมุ่งหวังให้ชุมชนร่วมจัดกิจกรรม ได้รับความรู้ ตลอดจนวางแผนส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการ และการรับวัคซีนให้ครอบคุลมของเด็กอายุ0-72เดือน(0-5ปี) ในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้ปกครองมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับโรค และโทษ อันตรายเกี่ยวกับวัคซีน

ผู้ปกครองมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับโรค และโทษ อันตรายเกี่ยวกับวัคซีน ร้อยละ 80

60.00 60.00
2 2.ผู้ปกครองสามารถปฏิบัติการลงน้ำหนักตามกราฟเพื่อประเมินภาวะโภชนาการได้

ผู้ปกครองสามารถปฏิบัติการลงน้ำหนักตามกราฟเพื่อประเมินภาวะโภชนาการได้ถูกต้อง ร้อยละ 95

60.00 60.00
3 3.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ พัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ พัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย ร้อยละ 80

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 180 16,700.00 1 16,700.00
21 ก.ย. 63 ค้นหากลุ่มเป้าหมาย 60 0.00 -
21 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้ 60 16,700.00 16,700.00
21 ก.ย. 63 การติดตาม 60 0.00 -
  1. ประชุมวางแผนแนวทางดำเนินงาน อบต. มะรือโบออก
  2. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน ต่อกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานโครงการเด็กน้อยสุขภาพดีสร้างเสริมภูมิคุ้มกันชุมชน เขต รพ.สต.บ้าปิเหล็ง
  3. ประชุมค้นหาร่วมกับ อสม. เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดและกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาด้านโภชนาการ
  4. เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ในการอบรม
  5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ความสำคัญของวัคซีน/โภชนาการ/พัฒนาการและเพื่อสอบถามปัญหา เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  6. ติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหาไม่มารับบริการวัคซีนตามกำหนดนัดหมาย
  7. สรุปผลการดำเนินงานแก่กล่มเป้าหมายและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องและรายงานผลการดำเนินงาน
  8. ประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในด้านการสร้างเสริม๓ุมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน/ด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการ/ด้านการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสมและถูกต้อง 2.อัตราการรับบริการวัคซีนตามเกณฑ์กระทรวงเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2562 00:00 น.