กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ป้องกันควบคุมโรคที่มียุงเป็นพาหะ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองม่วงงาม
วันที่อนุมัติ 25 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 97,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประสาน เหล๊าะเหม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.347,100.476place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2562 (ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2562) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ทุกประเภทสะสมรวม 64,159 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่าน มา 4,992 ราย อัตราป่วย 97.12 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากกว่าปี พ.ศ. 2561 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน 1.6 เท่า
ผู้ป่วยเสียชีวิต 72 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.11 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยสูงที่สุดเท่ากับ 130.06 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา ได้แก่ ภาคใต้(95.13) ภาคกลาง (77.45) และภาคเหนือ (75.70) ตามลำดับ โดยมีปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยเสียชีวิต อยู่ในชุมชนที่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI, CI) ในบ้านผู้เสียชีวิตมีค่าสูงมากกว่าร้อยละ 10 ซื้อยาชุดรับประทานเอง และผู้เสียชีวิตได้รับการรักษาช้า รวมทั้งมีโรคประจำตัว
คือ โรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด โรคอ้วน เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคหอบหืด สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดสงขลา พบผู้ป่วย 1,521 ราย มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในอำเภอสิงหนคร พบผู้ป่วย 56 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต โดยพบผู้ป่วยในตำบลม่วงงาม
จำนวน 5 ราย สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของตำบลม่วงงาม (ข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา) ย้อนหลัง 5 ปี พบว่า ปี 2557 มีรายงานผู้ป่วย 24 ราย ปี 2558
มีรายงานผู้ป่วย 14 ราย ปี 2559 มีรายงานผู้ป่วย 35 ราย ปี 2560 มีรายงานผู้ป่วย 17 ราย
ปี 2561 มีรายงานผู้ป่วย 47 ราย ปี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง วันที่ 13 สิงหาคม 2562
มีรายงานผู้ป่วย 5 ราย โดยเทศบาลเมืองม่วงงาม ได้รับแจ้งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพื่อการควบคุมโรค
จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงงามในปี 2561 (วันที่ 1 - 31 ธันวาคม 2561)
พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทุกประเภท จำนวน 137 ราย และในปี 2562 จำนวน 21 ราย นอกจากนี้ ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคชิคุนกุนย่าซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเช่นเดียวกัน แม้โอกาสการเสียชีวิตจะน้อย แต่ก็ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานจากโรคในผู้ป่วย โดยมีรายงานผู้ป่วยในปี 2561 จำนวน 21 ราย และในปี 2562 มีรายงานผู้ป่วย จำนวน 2 ราย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมากกว่าระบบเฝ้าระวังของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นข้อมูลผู้ป่วยที่มีการยืนยันโรคแล้ว ประมาณ 3 เท่า แต่ตามหลักการควบคุมโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ต้องดำเนินการตั้งแต่แพทย์เจอผู้ป่วยตั้งแต่วันแรกแม้เป็นผู้ป่วยสงสัย ก็จะต้องดำเนินการควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมงทันที เพื่อการควบคุมโรคให้ทันเวลาป้องกันความสูญเสียและการระบาดในวงกว้าง
จากสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกที่ระบาดรุนแรงมาต่อเนื่องหลายปี และโรคชิคุนกุนย่า ซึ่งมีการระบาดในปี 2561 จะเห็นได้ว่าเป็นการระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรคในเขตตำบลม่วงงาม มีความรุนแรงทุกปี ประกอบกับพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 มาตรา 53 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้ (1) กิจการตามที่ระบุไว้ ในมาตรา 50 (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ เทศบาลเมืองม่วงงามจึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรค ที่นำโดยยุงเป็นพาหะ ปีงบประมาณ 2563 ขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันและการควบคุมโรค อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ และการมีทรัพยากรในการควบคุมโรค อย่างเพียงพอ ป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนในเขตความรับผิดชอบ ของเทศบาลเมืองม่วงงาม ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
  2. ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อป่วยเป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน
  1. ความร่วมมือของประชาชนกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  2. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อการควบคุมโรคให้ทันเวลาภายหลังการได้รับแจ้ง โดยการกำจัดยุงพาหะนำโรคอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  1. ความทันเวลาในการพ่นเคมี มากกว่าร้อยละ 80
  2. ความสำเร็จในการควบคุมโรค มากกว่าร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 97,200.00 0 0.00
25 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 1.กิจกรรมให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์ 0 0.00 -
25 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 2.กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน และกิจกรรมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ 0 50,000.00 -
25 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 3. กิจกรรมพ่นเคมีทำลายยุงพาหะนำโรคเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดในชุมชน 0 47,200.00 -
  1. ทบทวน ปัญหาการระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ และแนวทางการควบคุมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ ร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
  2. จัดทำโครงการควบคุมป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะกรณีระบาด ปีงบประมาณ 2563 เพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. ประสานกองคลังเพื่อดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมถึงรายการค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ใช้การป้องกันควบคุมโรค
  4. ให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์
  5. กิจกรรมการรณรงค์ และสุ่มสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน โดยการประสานงานกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
  6. กิจกรรมพ่นเคมีในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน ทั้ง 2 ภาค
  7. กิจกรรมพ่นเคมีให้กับบ้านผู้ป่วยและในบริเวณรัศมี 100 เมตร รวมถึงในโรงเรียน กรณีมีการระบาด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลา และสามารถหยุดการระบาดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะในพื้นที่ ตำบลม่วงงามที่มีอย่างต่อเนื่องได้
  2. ไม่พบการสูญเสียในระดับที่รุนแรงของประชาชนจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ
  3. ความมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในการควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลม่วงงาม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2562 23:47 น.