กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยชุมชนมีส่วนร่วมปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L3339-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2563
งบประมาณ 29,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง ดูแล รักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพเชิงรุกที่มีคุณภาพและความครอบคลุมประชากรทั้งในระดับบุคคลและชุมชน จากสถานการณ์การระบาดของโรคหัวใจและหลอดเลือดในภาพรวมของประเทศ จากสถิติสาธารณสุข ปี ๒๕๕๖ และ ๒๕๕๗ พบว่าเป็นสาเหตุการตายลำดับที่ ๓ และลำดับที่ ๔ และมีสาเหตุการตายเท่ากับ ๕๖.๒ และ ๕๒.๖ ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ โดยมีภาวะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ อนึ่งจากการสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชนโดยการตรวจร่างกาย พศ.๒๕๕๙-๒๕๖๑ พบว่าผู้สงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๒ ใน ๓ อยู่ในวัยทำงาน (อายุ ๒๐-๕๙ ปี) และเกินครึ่งหนึ่งจะไม่รู้ตัวเองว่าเป็นโรคเนื่องจากไม่มีอาการแสดงให้ทราบ ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงอายุ ๑๕ ปี และกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ต้องได้รับการวัดความดันโลหิตหรือตรวจหาน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง อสม.ของม.๖ บ้านโคกโหนด ร่วมกับรพ.สต.บ้านไทรพอน จึงได้รจัดทำโครงการปรรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงโดยชุมชนมีส่วนร่วม ประจำปี ๒๕๖๓ ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้ดูแลสุขภาพตนเอง รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพมีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและภาระต่างๆต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.ประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ ๙๐

๑.ประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ ๙๐

0.00
2 ๒. เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง รายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ

๒.ผู้ป่วยสงสัยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง รายใหม่ได้รับการส่งต่อทุกราย

0.00
3 ๓.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น

กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ ๒๐ ได้มีกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 29,700.00 0 0.00
19 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 1.ประชุมแกนนำและอสม. 0 1,500.00 -
19 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 2.กิจกรรมการคัดกรองและอบรมให้ความรู้ 0 14,150.00 -
19 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การฝึกปฎิบัติการออกกำลังกาย 90 14,050.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อย่างน้อยร้อยละ ๙๐ ๒.ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองตามหลัก ๓ อ ๒ ส ๓.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบทุกราบ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2562 09:42 น.