โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลควนธานี จังหวัดตรัง
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลควนธานี จังหวัดตรัง |
รหัสโครงการ | 63-L1464-2-12 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 28 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.512,99.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ประชากรในเขตพื้นที่อบต.ควนธานี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่นการทำสวน ยางพารา การปลูกผัก การทำสวนผลไม้ ซึ่งโดยปกติเกษตกรส่วนใหญ่มักนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อเร่งผลผลิตให้ได้ปริมาณมากและสวยงาม จากข้อมูล พบว่า มีผลผลิตทางการเกษตรของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลควนธานี ได้แก่ พืชผัก ได้ผลเฉลี่ยประมาณ 1,250 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ขณะที่ ยางพารา มีผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลกรัม/ไร่/เดือน จะเห็นได้ว่า ผลผลิตทางการเกษตร ประเภทพืชผัก มีปริมาณมากที่สุด ทั้งนี้จากข้อมูลการศึกษา พบว่า การปลูกพืชผักของเกษตรกร มักนิยมใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มากเป็นลำดับต้นๆของผลผลิตประเภทอื่นๆ ดังนั้นจึงมีความน่าสนใจในเชิงวิชาการว่า เกษตรกรในตำบลควนธานี มีสภาพความเสี่ยงของพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากน้อยเพียงใด ตลอดจนสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ตำบลควนธานียังขาดข้อมูลและมีข้อจำกัดในส่วนนี้ ที่สำคัญการดำเนินงานดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านคุณภาพชีวิตและสังคม ดังนั้น วสส.จังหวัดตรัง จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลควนธานี จังหวัดตรัง เพื่อให้ทราบสถานการณ์ของขนาดปัญหาสภาพความเสี่ยงของพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในระดับพื้นที่ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อประเมินสภาพปัญหาความเสี่ยงของพฤติกรรมการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร ได้ชุดข้อมูลสถานการณ์สภาพปัญหาความเสี่ยงของพฤติกรรมการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรตำบลควนธานี |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อเสริมสร้างอาชีวสุขศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในกลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 70 ของกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ เกิดความตระหนัก ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 160 | 23,600.00 | 5 | 23,600.00 | |
22 เม.ย. 63 | 1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โรคและภัยสุขภาพจากการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวิธีการป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องสำหรับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช | 40 | 5,200.00 | ✔ | 5,200.00 | |
7 พ.ค. 63 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) การสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงของการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร ตำบลควนธานี โดยประยุกต์ใช้แผนที่ความเสี่ยงสุขภาพ (แผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน)) | 30 | 6,700.00 | ✔ | 6,700.00 | |
19 พ.ค. 63 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาการจัดทำแนวทางแก้ไขความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม ของการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรพืชในกล่มเกษตรกร ตำบลควนธานี | 35 | 4,550.00 | ✔ | 4,550.00 | |
4 มิ.ย. 63 | จัดประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อคืนข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงของการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช | 40 | 5,200.00 | ✔ | 5,200.00 | |
25 มิ.ย. 63 | จัดประชุมนิเทศการติดตามและประเมินผลดำเนินงานการป้องกัน ควบคุม แก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง | 15 | 1,950.00 | ✔ | 1,950.00 |
1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โรคและภัยสุขภาพจากการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวิธีการป้องกัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องสำหรับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินความเสี่ยงของการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การเก็บข้อมูลอาการทางกายในกลุ่มเกษตรกร ตำบลควนธานี
3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาการจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมของการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรพืชในกลุ่มเกษตรกร ตำบลควนธานี
4.จัดประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อคืนข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยงของการใช้และสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พร้อมทั้งข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ต่อผู้บริหารส่วนตำบลควนธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชน
5.จัดประชุมนิเทศการติดตามและประเมินผลดำเนินงานการป้องกัน ควบคุม แก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรในพื้นที่ เกิดความตระหนัก ถึงโทษและภัยสุขภาพอันเนื่องจากพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง 2.อปท.แฃะภาคีเครือข่าย สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อควบคุม ป้องกัน แก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับบริบรทพื้นที่ และมีการติดตามผลอย่างน้อยต่อเนื่อง ทุกๆ3 เดือน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2562 10:08 น.