โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตำบลควนธานี โดยประยุกต์ใช้แผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตำบลควนธานี โดยประยุกต์ใช้แผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน |
รหัสโครงการ | 63-L1464-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 28 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 พฤศจิกายน 2562 - 16 มกราคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.512,99.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 15 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่นนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันได้มีรายงานเหตุร้องเรียนจำนวนไม่น้อยจากชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยของเสียประเภทต่างๆจากแหล่งสถานประกอบกิจการ ครัวเรือน ได้แก่ปัญหาขยะ ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหากลิ่นเน่าเหม็น ปัญหาของเสียอันตรายและสารเคมีออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
แม้ว่าประชากรในเขตพื้นที่ตำบลควนธานี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น การทำสวนยางพารา การปลูกผัก กรทำสวนผลไม้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันได้มีกิจการที่เปิดดำเนินการในพื้นที่ตำบลควนธานีอยู่ก่อนแล้วค่อนข้างมีความหลากหลาย เช่น กิจการเลี้ยงสัตว์ สุกร วัว ไก่ รวมถึงกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ อู่พ่นสี ร้านเสริมสวย ร้านรับซื้อของเก่า และถูกจัดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใน144 ประเภท ตามพรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ซึ่งข้อมูลในการวิชาการเป็นที่ทราบกันดีว่ากิจการดังกล่าว เป็นแหล่งปลดปล่อยมลพิษสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนที่สำคัญ จะเห็นว่าปัญหาภัยคุกคามสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่ตำบลควนธานี มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายมากหากยังขาดมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบที่รัดกุมดีพอ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งอปท. สาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงชุมชน จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ดังนั้น วสส.จังหวัดตรัง จึงได้มีการจัดทำโครงการเสริมศักยภาพของชุมชน ให้มีข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เพื่อการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือกิจการประเภทอื่นๆ อย่างเป็นระบบและมีแนวทางที่ชัดเจนต่อไปได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำชุมชน อปท.อสม.ด้านการจัดทำแผนที่ความเสี่ยงระบาดวิทยาภาคประชาชน ร้อยละ 70 ของแกนนำชุมชน อสม.อปท.และประชาชนทีเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ เกิดความตระหนักของผลกระทบต่อสุขภาพจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อพัฒนาให้มีข้อมูลสถานการณ์เฝ้าระวังสุขภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระดับตำบล ได้ชุดข้อมูลสถานการณ์เฝ้าระวังสุขภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระดับตำบล จากแผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 155 | 23,800.00 | 5 | 23,700.00 | |
7 พ.ย. 62 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้แนวคิด วิธีการ การทำแผนที่วคามเสี่ยงระบาดวิทยาภาคประชาชน | 40 | 5,200.00 | ✔ | 5,200.00 | |
21 พ.ย. 62 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) วิธีการดึงข้อมูลโรค/อาการจากโปรแกรม JHCIS หรือ HosXP และเทคนิคการทำแผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน | 30 | 7,550.00 | ✔ | 7,450.00 | |
12 ธ.ค. 62 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การเดินสำรวจพื้นที่ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพ | 25 | 3,250.00 | ✔ | 3,250.00 | |
26 ธ.ค. 62 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อพัฒนาการจัดทำแผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน รายหมู่บ้านเชื่อมโยงเป็นระดับตำบล | 20 | 2,600.00 | ✔ | 2,600.00 | |
16 ม.ค. 63 | จัดประชุมเวทีคืนข้อมูลสถานการณ์สิ่งแวดล้อม-สุขภาพ จากการทำแผนที่ความเสี่ยงทางระบาดวิทยาภาคประชาชน | 40 | 5,200.00 | ✔ | 5,200.00 |
1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้แนวคิด วิธีการ การทำแผนที่ความเสี่ยงระบาดวิทยาภาคประชาชน สำหรับ ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน อสม. อปท. รพสต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) วิธีการดึงข้อมูลโรค/อาการจากโปรแกรม JHCIS หรือ HosXP และเทคนิคการทำแผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน 3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (WOrkshop) การเดินสำรวจพื้นที่ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาผลกระทบตอสุขภาพ 4.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (WOrkshop) เพื่อพัฒนาการจัดทำแผนที่ระบาดวิทยาภาคประชาชน รายหมู่บ้านเชื่อมโยงเป็นระดับตำบล 5.จัดประชุมเวทีคืนข้อมูลสถานการณ์สิ่งแวดล้อม-สุขภาพ จากการจัดทำแผนที่ความเสี่ยงทางระบาดวิทยาภาคประชาชน เพื่อการเฝ้าระวังทางสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนธานี
1.แกนนำชุมชน อสม. อปท. และภาคีเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการเตรียมพร้อมรับมือผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 2.อปท.และภาคีเครือข่าย สามารถนำข้อมุูลที่ได้ไปเป็นข้อมูลสนับสนุนการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันหรือลดผลกระทบจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมถึงกิจการที่เกี่ยวข้องได้ และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 3 เดือน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2562 10:58 น.