โครงการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
รหัสโครงการ | 63-L1464-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง |
วันที่อนุมัติ | 28 ตุลาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 23 มกราคม 2563 - 9 เมษายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.512,99.563place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 5 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จังหวัดตรัง เป็นจังหวัดเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนานโยาบทางด้านเศรษฐกิจในหลายด้าน รวมถึงในอนาคนอันใกล้ที่คาดว่าจะมีโครงการพัฒนาทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งนี้นโยบายหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆที่เกิดขึ้น หากสถานประกอบการซึ่งเป็นแหล่ง ปลดปล่อยมลพิษสิ่งแวดล้อมไม่มีมาตราการป้องกันหรือมาตรการลดผลกระทบอย่างรัดกุมเพียงพอ แน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามมา ไม่มากก็น้อย สำหรับพื้นที่ตำบลควนธานี ได้มักิจการที่เปิดทำดำเนินการในพื้นที่อยู่แล้วค่อนข้างหลากหลาย ซึ่งเป็นกิจการที่ถูกจัดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพใน 144 ประเภท ตามพรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ดังนั้นปัญหาภัยคุกคามสุขาพจากสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่ตำบลควนธานีมีโอกาสเกิดขึ้นงานมากหากยังขาดมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบที่รัดกุมดีพอ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ท้องถิ่น สาธารณสุข หน่วยงานภาครับรวมถึงชุมชน จำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกิจการเลี้ยงไก่ดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันได้มีการนำเครื่องมื่อทางสังคมมาสนับสนุนการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ HIA เพื่อเป็นเครื่องมือทางวิชาการ ให้อปท.ประยุกต์ใช้ในการกำกับ ติดตามตรวจสอบการประกอบกิจการก่อนเสนอเสนอให้ผู้บริหารของอปท.อนุญาตประกอบการและอีกทั้งเพื่อใช้เป็นเครื่องมือประยุกต์ใช้ในการกำกับ ติดตามตรวจสอบการประกอบกิจการในช่วงที่มีการเปิดกิจการไปแล้ว ดังนั้นวสส.จังหวัดตรัง จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในพื้นที่ตำบลควนธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพอปท.และภาคีเครือข่ายในด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) จากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งเพื่อพัฒนาให้มีข้อเสนอมาตรการป้องกัน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างมีประสิทธิภาพได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายในด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) จากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร้อยละ 70 ของอปท. ผู้นำชุมชน อสม.และภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) เพิ่มขึ้น |
0.00 | |
2 | 2.เพื่อพัฒนาให้มีข้อเสนอมาตรการป้องกัน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้ชุดข้อเสนอมาตรการป้องกัน ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบจากกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ดำเนินการได้ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 165 | 23,400.00 | 6 | 23,400.00 | |
23 ม.ค. 63 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้แนวคิด หลักการวิธีการ เครื่องมือ ของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) สำหรับ ผู้นำชุมชน อสม. อปท. รพสต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | 40 | 5,200.00 | ✔ | 5,200.00 | |
13 ก.พ. 63 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนกลั่นกรอง (Screening) และการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ Scoping สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ | 25 | 5,200.00 | ✔ | 5,200.00 | |
27 ก.พ. 63 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ Appraisal และการประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ | 30 | 3,900.00 | ✔ | 3,900.00 | |
12 มี.ค. 63 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Recommendation and Reporting) | 25 | 3,250.00 | ✔ | 3,250.00 | |
26 มี.ค. 63 | จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนการติดตามประเมินผล (Monitoring and Evalution)) | 30 | 3,900.00 | ✔ | 3,900.00 | |
9 เม.ย. 63 | จัดประชุมสรุปถอดบทเรียน สังเคราะห์ แนวทางการดำเนินงานตรวจสอบสถานประกอบการเพื่อให้ใบอนุญาตโดยใช้หลักการ HIA แก่ผู้บริหารอปท.และผู้เกี่ยวข้อง | 15 | 1,950.00 | ✔ | 1,950.00 |
1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้แนวคิดหลักการ วิธีการ เครื่องมือ ของการประเมินผลกระทบสุขภาพ HIA สำหรับ ผู้นำชุมชน อสม. อปท. รพ.สต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนกลั่นกรอง และการกำหนดขอบเขตประเมินผลกระทบ สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 3.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และการประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 4.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นมนขั้นตอนการจัดทำรายงานและข้อมเสนอแนะ 5.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นในขั้นตอนการติดตามประเมินผล 6.จัดประชุมสรุปถอดบทเรียน สังเคราะห์ แนวทางการดำเนินงานตรวจสถานประกอบการเพื่อให้ใบอนุญาตโดยใช้หลักการ HIA แก่ผู้บริหารอปท.และผู้เกี่ยวข้อง
1.อปท.มีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานตรวจประเมินสถานประกอบการก่อนให้อนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทอื่นๆ รวมถึงแนวทางการตรวจสอบกิจการหลังจากเปิดดำเนินการไปแล้ว 2.ประชาชนในชุมชนพื้นที่ตำบลควนธานี สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงและคุกคามสุขภาพจากปัญหาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จนนำไปสู่การทีสุขภาวะที่ดีทั้งทางกาย จิต และปัญญา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2562 11:37 น.