กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 63-L1523-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาเพดาน
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2564
งบประมาณ 21,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอิษยา ศรีชูชาติ
พี่เลี้ยงโครงการ นางอาทิตยา ชูบุญส่ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 21,850.00
รวมงบประมาณ 21,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำไปสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคตอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตปกติส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูงและมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งโรคเรื้อรังอันตรายที่มักพบร่วมกันกับโรคความดันโลหิตสูงและมักจะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้นส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตหรือตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ยกเว้นในรายที่มีอาการสูงมากอาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศีรษะรุนแรงหรือบางรายภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัวดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ และส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิต จากการตรวจคัดกรองโรคในประชากรอายุ35 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน ในปีงบประมาณ 256๒จำนวน 977 ราย สามารถคัดกรองโรคเบาหวานครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 95.15 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปตามลำดับและคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 97.12ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ตามลำดับ พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าระดับความดันโลหิต 100 mg/dl  จำนวน 40 คนของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาเพดาน จึงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจึงได้เล็งเห็นผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีค่าผลเลือดและค่าระดับความดันโลหิตเกินเกณฑ์เพื่อได้มีการเข้ารับการรักษารายโรค จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันได้ 2.เพื่อลดกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ 3.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้
  1. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันได้ร้อยละ 80
  2. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคความดันโลหิตสูงและมีผลตรวจวัดระดับ BP อยู่ในเกณฑ์ปกติ (≤ 120/80 mmHg) ร้อยละ 40
  3. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อโรคเบาหวานมีและผลตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เกณฑ์ปกติ (≤ 100 mg %) ร้อยละ 40
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 21,850.00 0 0.00
1 ม.ค. 63 - 26 พ.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้การป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ระยะการติดตามผลและกิจกรรมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 100 19,350.00 -
1 ม.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดประชุมเสวนา ถอดบทเรียนร่วมกัน “การดูแลสุขภาพห่างไกลโรค”และหาบุคคลต้นแบบ การลดเสี่ยง ลดโรค 100 2,500.00 -

1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาและรวบรวมรายชื่อกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อไม่ให้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2.จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 3.แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4.ประชาสัมพันธ์โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 5.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ และสถานที่ 6.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเลือกรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันได้ 2.กลุ่มเสี่ยงไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่
3.เกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก3อ(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) 4.ระดับความดันโลหิตของกลุ่มเป้าหมายลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติจากการติดตามหลังเข้าร่วมโครงการ 5.ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเป้าหมายลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติจากการติดตามหลังเข้าร่วมโครงการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 16:15 น.