คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการสาธารณสุขบุญวรรโณ
ชื่อโครงการ | คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการสาธารณสุขบุญวรรโณ |
รหัสโครงการ | 63-L7258-1-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์บริการสาธารณสุขบุญวรรโณ |
วันที่อนุมัติ | 27 กันยายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 15 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 37,865.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศุภวรรณ ขุนจันทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs: Non-communicable diseases) ซึ่งเป็นปัญหา สาธารณสุขที่สำคัญ และเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการที่กำลังทวีความรุนแรงและมีแนวโน้มการเป็นโรคสูงขึ้นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหา ส่วนใหญ่มาจากประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม เช่นการรับประทานที่มีไขมันสูงการรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบหรี่ ขาดการออกกำลังกาย ตลอดจนสภาพปัญหาด้านจิตใจ อารมณ์ และความเครียดเรื้อรัง เป็นต้น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ถ้าไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย หรือ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ไต เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จะส่งผลให้เกิดความพิการถาวรต่างๆ ตามมาได้ หากไม่มีการควบคุมระดับความดันโลหิต หรือปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดปริมาณสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำลายหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ เช่นส่งผลกระทบต่อ เส้นเลือดที่ตา ทำให้เกิดอาการตามัว หรือตาบอด ส่งผลต่อเส้นเลือดที่ไต ทำให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติ ไตวาย ส่งผลต่อเส้นเลือดที่หัวใจ ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบ ปลายมือปลายเท้ารู้สึกชาเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยมีแผลก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแล ประกอบกับน้ำตาลในเลือดสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเชื้อโรค ส่งผลให้แผลเน่า ดังนั้นการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงควบคู่ไปกับการเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงของตนเองได้ ซึ่งจะเป็นกลไกพื้นฐานสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง การสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ ประชาชนเกิดความตระหนักในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ การตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองเบื้องตัน โดยเฉพาะในประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป จึงถือเป็นวิธีการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเฝ้าระวังป้องกันโรค และลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดตามมา ศูนย์บริการสาธารณสุขบุญวรรโณบ้านปลักกริม (คุณแม่เยื้อง บุญวรรโณ อุทิศ) ได้ดำเนินงานนั้นการทำงานเชิงรุกในชุมชนที่รับผิดชอบจำนวน ๑๐ ชุมชน โดยใช้เครือข่ายระหว่างศูนย์บริการสาชารณสุขกับอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชนจะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็น โรคที่พบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์บริการสาธารณสุขบุญวรรโณบ้านปลักกริม (คุณแม่เยื้องบุญวรรโณ อุทิศ) จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองกลุ่มเสียเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน และความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งให้ความรู้สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดีเหมาะสม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างน้อย ร้อยละ ๙๐ |
0.00 | |
2 | ประชาชนมีความรู้ ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม ผลการประมินความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีคะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ |
0.00 | |
3 | ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓ อ. , ๒ ส. อัตราการเจ็บป่วยลงลงอย่างต่อเนื่อง |
0.00 | |
4 | ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบทุกราย ผู้ป่วยรายใหม่มีระบบการส่งต่อและสามารถติดตามได้ทุกราย |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 35 | 37,865.00 | 5 | 37,865.00 | 0.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | ประชุมเตรียมงานแก่คณะทำงาน (เจ้าหน้าที่,อสม.) | 35 | 875.00 | ✔ | 0.00 | 875.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | ตรวจคัดกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง | 0 | 5,800.00 | ✔ | 5,800.00 | 0.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | จัดอบรมให้ความรู้การดูแลตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส. | 0 | 30,750.00 | ✔ | 31,825.00 | -1,075.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | ประชาสัมพันธ์ | 0 | 240.00 | ✔ | 240.00 | 0.00 | |
1 - 30 ก.ย. 63 | สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 200.00 | ✔ | 0.00 | 200.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 35 | 37,865.00 | 5 | 37,865.00 | 0.00 |
๑. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเขียนโครงการขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ
๒. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน
๓. แจ้งแผนการดำเนินงานการรณรงค์ตรวจคัดกรองแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ
๔. ประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่องให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบ
๕.ดำเนินการคัดกรองตามแผนงาน ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดความตันโลหิต หาค่า BMI เจาะปลายนิ้วหาน้ำตาลในเลือด (DTX) เพื่อประเมินความเสี่ยง พร้อมแจ้ผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
๖ อบรมให้ความรู้การดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและโรคความตันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๐ ชุมชน
๗. สรุปจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรความดันโลหิตสูง
๘. ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคโรคเบาหวาน และโรความดันโลหิตสูง พบแพทย์
๙. ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ
๑๐. บันทึกการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS
๑๑. สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ
๑.ประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างน้อย ร้อยละ ๙๐
๒.ประชาชนมีความรู้ ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพอย่างเหมาะสม
๓.ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก ๓ อ. , ๒ ส.
๔.ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่ออย่างเป็นระบบทุกราย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 21:40 น.