กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการสาธารณสุขโพธิพงษาบุญมณี อินทรัศมี
รหัสโครงการ 63-L7258-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขโพธิพงษาบุญมณี อินทรัศมี
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 15 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,845.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลพร จันทรมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคหัวใจ โรคถุงลมโปร่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ลงพุง มีสาเหตุเกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมัน เค็ม และมีความเครียด ซึ่งกลุ่มโรคดังกล่าวได้คร่าชีวิตประชากรไทยถึงร้อยละ ๗๕ ของการเสียชีวิตทั้งหมดระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๕ กับ พ.ศ.๒๕๕๘ (ที่มาสำนักโรคไม่ติดต่อ ประมวลผลข้อมูลทะเบียนการตายจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) จากสภาวะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขโพธิพงษา บุญมณี อินทรัศมี พบว่ามีประชาขนทั้งที่ไม่ป่วยและที่ป่วยด้วยปัญหาโรคเรื้อรัง ยังมีพฤติกรรมการกินที่เนันหวาน มัน เค็ม หวาน มัน เค็มจำนวนร้อยละ ๘๐ มีภาวะเครียดจากการดำเนินชีวิตและพึ่งอบายมุขทั้งเหล้าบุหรี่จำนวนร้อยละ ๖๐ และประชาชนยังมีพฤติกรรมกินจนเกินพอ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ใสใจสุขภาพประมาทปล่อยละเลยจนเกิดโรคเรื้อรัง และอื่นๆ จำนวนร้อยละ๗๐ และโรคที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดข้าๆ โดยไม่รู้ตัวเมื่อมีอาการอาจจะรุนแรง และสายเกินแก้ไขที่แน่นอนคือ เมื่อเป็นโรคแล้วต้องรักษาต่อเนื่องตลอด หลายคนเมื่อเป็นหนึ่งในโรคแล้วจะมีโรคที่ ๒ ที่ ๓ ตามมาอีก สมรรถภาพ ร่างกายและการทำงานลดถอย ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว มีความสุขน้อยลง คุณภาพชีวิตแย่ ผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ให้ความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าวจึงมีนโยบายส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ประชาชนเชิงรุกในชุมชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจเชื่อมั่น ร่วมคิดร่วมสร้าง และร่วมทำอย่างเข้าถึงและรู้เท่าทันสุขภาพ เกิดความตระหนัก สามารถดูแลสุขภาพ ทั้งยังสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเองครอบครัวและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องอีกด้วย สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริการสาธารณสุขโดยศูนย์บริการสาธารณสุขโพธิพงษา บุญมณี อินทรัศมี (ชุมชนคลองเตย) จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุ การเกิดโรคเรื้อรัง และการหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรค

กลุ่มเป้าหมายตอบคำถามถึงสาเหตุการเกิดโรคเรื้อรังการหลีกเลี่ยงและการลดการเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ถูกต้องร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการกินที่ลด อาหารหวานมันเค็มมากขึ้นมีการผ่อนคลายความเครียดมากขึ้น พึ่งบุหรี่สุราน้อยลงและมีการออกกำลังกายใน อัตราที่เพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมายเข้าใจการปฏิบัติตนเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรค ด้วยวิธีตามหลัก ๓อ๒ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา) ได้ถูกต้องร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อให้เกิดความสัมพันธภาพและสุขภาพที่ดีใน ครอบครัวและในชุมชน ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งประชาชน สุขภาพดีและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนดีขึ้น

อัตราการป่วยในพื้นที่รับผิดชอบลดลงอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 24,845.00 3 10,520.00
21 ก.ย. 63 ประชุมเตรียมงานแก่คณะทำงาน 0 375.00 0.00
21 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์ 0 120.00 120.00
24 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 200 คน (ครึ่งวัน) 200 24,350.00 10,400.00

๑.ศูนย์บริการสาธารณสุขร่วมกับ อสม.สำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพที่สี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังใน อสม..และประชาชนทุกกลุ่มอายุในพื้นที่รับผิดชอบ

๒.วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนดำเนินการ

๓ ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องวางแผนจัดทำโครงการรู้ทันลดเสี่ยง ทำได้ห่างไกลโรค

๔.ประชาสัมพันธ์โครงการ

๕ดำเนินการจัดทำโครงการรู้ทันลดเสี่ยง ทำได้ห่างไกลโรค โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องสาเหตุการเกิดโรคเรื้อรัง การหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดโรคโดยใช้หลักปฏิบัติ ๓ อ ๒ ส เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

๖.ติดตามและประเมินผลโครงการและกิจกรรม ๗.สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้ใจ มีความตระหนักและปฏิบัติตน เพื่อลดภาวะเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังได้ถูกต้อง และสามารถดูแลคนในครอบครัวของตนเอง เพื่อลดภาวะเสี่ยงได้

๒.เกิดความสัมพันธภาพและสุขภาพทีดี ในครอบครัวและในชุชน ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งและประชาชนสุขภาพดี

๓.คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 21:47 น.