ส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กประถมศึกษาในโรงเรียน
ชื่อโครงการ | ส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากเด็กประถมศึกษาในโรงเรียน |
รหัสโครงการ | 63-L7258-1-17 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานทันตกรรม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 27 กันยายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 มีนาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 86,610.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสันติ ตุงคะเวทย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 1000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจ พบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปาก ของเด็กแล้วยังมี ผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ ๖-๑๒ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้น ใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหาร ของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปาก ด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากเป็นโรคในช่องปาก เป็นโรคที่สามารถ ป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรก ของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคใน ช่องปากของเด็กได้ จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ ๓๘ งานทันตกรรม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำ โครงการฯ นี้ขึ้นในนักเรียนประถมศึกษาเพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้แกนนำนักเรียนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สุขภาพในช่องปาก นักเรียนที่ผ่านกิจกรรมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก เกินร้อยละ ๘๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีทักษะ ในการแปรงฟันและตรวจคัด กรองโรคในช่องปากเบื้องต้นได้ นักเรียนทั้งหมดที่ผ่านกิจกรรมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก และมีสุขภาพช่องปากที่ดีเกินร้อยละ ๘๐ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
22 - 25 ก.ย. 63 | อบรมให้ความรู้นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1-6 | 1000 | 25,000.00 | ✔ | 25,000.00 | |
22 - 25 ก.ย. 63 | คัดกรองสุขภาพช่องปากและสาธิตการใช้อุปกรณ์ดูแลช่องปากนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1-6 | 0 | 45,000.00 | ✔ | 45,000.00 | |
22 ก.ย. 63 | ประชาสัมพันธ์ | 0 | 16,410.00 | ✔ | 5,850.00 | |
22 ก.ย. 63 | สรุปผลการดำเนินงาน | 0 | 200.00 | ✔ | 0.00 | |
รวม | 1,000 | 86,610.00 | 4 | 75,850.00 |
๑. จัดประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม. เพื่อปรึกษาหารือรูปแบบการดำเนินการและเพื่อจัดเตรียมการดำเนินงาน
๒. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่
๓. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
๔. จัดกิจกรรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน
๕. จัดกิจกรรมส่งเสริมอุปกรณ์ดูแลช่องปากสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
๖. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผล
๑.นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากตามระบบเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
๒ นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมอย่างถูกต้อง
๓.นักเรียนเปลี่ยนแปลงทัศนคติและมีพฤติกรรมทางสุขภาพดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 21:58 น.