กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บริการและส่งเสริมสุขภาพแบบผสมผสาน
รหัสโครงการ 63-L7258-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 536,770.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาบทิพย์ เพ็ชรสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 536,770.00
รวมงบประมาณ 536,770.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔ หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา ๒๔๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๑ ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของ ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามวิธีกรและรูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา ๒๕๐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์ชาติระ ๒๐ ปี ยุทธศาสตร์ที่ ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคมในการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่มียุทธศาสตร์ในการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่๑ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นเลิศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการส่งเสริมสุขภาพและมีสุขภาพที่ดี จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรไทย ที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จากข้อมูลของมูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ประชากรไทยในปี ๒๕๕๘ มีจำนวน ๖๕.๑ ล้านคน เป็นประชากรอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป จำนวน ๑๑ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของประชากรทั้งหมดและคาดการณ์ว่าสัดส่วนของผู้สูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้นจากข้อมูลประชากรกลางปี จำนวนของผู้สูงอายุและผู้สูอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จะมีจำนวนมากขึ้นรัฐบาลมีนโยบายด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูอายุในทุกช่วงวัย สนับสนุนการจัดกิจกรรมด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ใน ๔ มิติ ได้แก่ มิติต้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้นเศรษฐกิจ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและบริการสาธารณะ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมศักยภาพให้สมารถพึ่งตนเองได้ และใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข รวมทั้งการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความเจริญด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควร เพื่อให้มีภาวะโภชนาภารที่ดี ลดการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ ความพิการซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหลอดเลือดในสมองอุดตันเป็นต้น เทศบาลนครหาดใหญ่ได้มีนโยบายด้านการสาธารณสุข เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือกในการรับบริการด้าน สุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยกาจัดตั้งเป็นศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุขขึ้น เพื่อให้บริการประชาชน ด้วยการแพทย์ผสมผสาน เน้นการเรียนรู้และบูรณการความรู้ด้านการแพทย์และภูมิปัญญาตะวันออก เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างทั่วถึง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตสนในกลุ่มอื่นๆว่าต้องการเตรียมพร้อมเข้าสู่ภาวะที่ร่างกายเสื่อมถอยก็เป็นสั่งสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเกิดสภาพเสื่อมถอยด้วยความรู้ต่างๆ เป็นการชะลอวัย การดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเอง ตามศาสตร์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นการนันทนาการ และความรู้ต่างๆอีกมากมายขึ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง และเกิดความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน การดำเนินชีวิต

ร้อยละ ๘๐ กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนและผู้สนใจ ได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และแพทย์ทางเลือก

ร้อยละ ๘๐ ประชาชนและผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และแพทย์ทางเลือก

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้และสร้างเสริม ทักษะที่เหมาะสมกับช่วงวัย ทั้งด้านสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและภูมิปัญญา

จำนวนประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1000 536,770.00 6 374,770.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมด้านการแพทย์แผนไทย 350 96,020.00 96,020.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมโภชนาการ 100 70,200.00 28,600.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมแพทย์ทางเลือก 100 79,800.00 69,000.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬา 150 160,000.00 96,600.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมกายภาพบำบัด 200 110,750.00 69,350.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมบำบัด 100 20,000.00 15,200.00

วิธีดำเนินการ

  1. ประชุมร่วมกับคณะผู้บริหารเสนอปัญหาและแนวทางการทำงานเพื่อจัดทำ โครงการบริการสุขขาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเทศบาลนครหาดใหญ่

  2. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

  3. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อวางแผนกำหนดรูปแบบการทำงาน

  4. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม

  5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  6. แผนการดำเนินงาน การบริการและส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมต่างๆดังนี้ คือ

6.1 กิจกรรมแพทย์แผนไทย

6.2 กิจกรรมโภชนาการ

-เกษตรอินทรีย์วิถีชีวาสุข

-อาหารเพื่อสุขภาพ

6.3 กิจกรรมแพทย์ทางเลือก

  • ฝังเข็ม

  • รมยา

  • ครอบแก้ว

6.4 กิจกรรมวิทยาศาสตร์การกีฬา

  • แอโรบิคในน้ำ

  • ฟิตเนส

6.5 กิจกรรมกายภาพบำบัด

  • วารีบำบัด

  • โยคะ

  • เต้นประกอบจังหวะ

6.6 กิจกรรมบำบัด

  • สมาธิบำบัด

  • ดนตรีบำบัด

  • งานประดิษฐ์

  • จัดดอกไม้จัดใจ

  • ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

  1. ทำแบบประเมินความพึงพอใจ

  2. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนและผู้ที่สนใจครับความรู้จากการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและแพทย์ทางเลือกสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๒.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม

๓.ประชาชนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 22:04 น.