ตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
ชื่อโครงการ | ตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง |
รหัสโครงการ | 63-L7258-1-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ฝ่ายบริการสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
วันที่อนุมัติ | 27 กันยายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 มีนาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 100,165.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณฤตณ เพ็ชรมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.01,100.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศแถบตะวันตก เช่น สหรัฐอมริกาและประเทศทางยุโรป โดย ในประเทศสหรัฐอเมริกาประชากรมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตประมาณร้อยละ ๖ หรือ ๑ ต่อ ๒๐ ของ ประชากร ประมาณการว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น ๑๓๘,๐๐๐ ราย/ปี และจะมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนปี สำหรับประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากสถิติของ สถานวิทยามะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่มีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับ ๔ในเพศชาย รองจากมะเร็งตับ มะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนในเพศหญิงพบมากเป็นอันดับ ๓ รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม แม้ว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่จะเกิดขึ้นได้ในทุกข่วงอายุ แต่อัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะสูงขึ้นในผู้สูงอายุ ที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะถูกวินิจฉัยในช่วงอายุระหว่าง ๕๐ - ๗๐ ปี เนื่องจากผู้ป่วยจำนวนมากจะไม่มีอาการให้เห็นใน ระยะแรก จนกว่าตัวเนื้องอกจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ การตรวจคัดกรองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการรักษาชีวิต ผู้ป่วยและการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไล้ใหญ่โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไปทำให้ตรวจพบความผิดปกติและรักษา ได้ตั้งแต่ในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก ซึ่งพบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ ใหญ่ได้อย่างชัดเจน ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ขึ้นเพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายอายุ ๕๐๗๐ ปี โดยใช้ Fit Test เป็นการตรวจคัดกรองที่ดี ราคาไม่แพง และไม่ยุ่งยาก ซึ่งการคัดกรองจะช่วยให้พบผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกเริ่มและสามารถรักษาให้หายขาดได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้มีโอกาสเข้าถึง การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากขึ้น ประชากรที่มีอายุ ๕๐ปื ขึ้นไป ในเขตเทศบาลได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจหา Occult blood จำนวนศูนย์ฯ ละ ๑๐๐ คน |
0.00 | |
2 | เพื่อให้สามารถตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรก (early stage) ได้มากขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการตรวจหา Occult blood ได้รับการรักษาต่อโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ผิดปกติ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 | ประชาสัมพันธ์ | 0 | 240.00 | ✔ | 0.00 | |
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 | ตรวจคัดกรองและตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งลำไส้ตรง | 0 | 88,125.00 | ✔ | 88,125.00 | |
22 ก.ย. 63 | จัดอบรมให้ความรู้สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำสุขภาพและอสม. | 0 | 11,800.00 | ✔ | 0.00 | |
รวม | 0 | 100,165.00 | 3 | 88,125.00 |
๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครหาดใหญ่
๒.ประสานงานและจัดประชุมเตรียมความพร้อมแก่เจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน (โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่และศูนย์บริการสาธารณสุขในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ในการให้บริการตรวจคัดกรอง)
๓.ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจบริการคัดกรอง
๔.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่
๕ จัดซื้อชุดตรวจหาเลือดในอุจาระ (Fit Test) เพื่อหา stool occult blood
๖.พยาบาลของศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลนครหาดใหญ่ ทำการค้นหาและไปพบกลุ่มเป้าหมายเพื่อดำเนินการดังนี้
ชี้แจงรายละเอียดและประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ
ให้ลงชื่อยินยอมเข้าร่วมโครงการ
สัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม เกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย ยาที่ใช้ประจำ ประวัติการถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น
๗.จัดกิจกรรมให้บริการการตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fit Test ) แก่กลุ่มเป้าหมาย
๘.ส่งชุดตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Fit Test )
๙.ติดตามผลสิ่งส่งตรวจหากตรวจพบผลผิดปกติประสานส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ผิดปกติ
๑๐.วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เป็นร้อยละ เพื่อคำนวณหาอุบัติการณ์การตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่
๑๑.สรุปและประเมินผลโครงการ
๑.ประชากรที่มีความเสี่ยงสูงได้มีโอกาสเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
๒.สามารถตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรก (early stage) ได้มากขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 22:07 น.